เล่าเรื่องไทย ๆ กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง ตอน งานคร่ำ ขันลงหิน บาตรพระ ภูมิปัญญาโบราณล้ำค่าที่ใกล้เลือนหาย

ไลฟ์สไตล์

เล่าเรื่องไทย ๆ กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง ตอน งานคร่ำ ขันลงหิน บาตรพระ ภูมิปัญญาโบราณล้ำค่าที่ใกล้เลือนหาย

โดย

17 ก.ย. 2563

1.1K views

งานคร่ำหรือเครื่องคร่ำ มีวิธีตกแต่งลวดลายด้วยการฝังเส้นเงินเส้นทองลงในเหล็ก ปัจจุบันมีช่างแขนงนี้น้อยมาก
โดย ครูอุทัย เจียรศิริ เป็นผู้สืบทอดการทำงานคร่ำ ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่โปรดฯ ให้มีการฟื้นฟูงานคร่ำโบราณที่ใกล้สูญหาย ให้กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง
เครื่องทองลงหิน หรือขันลงหิน มรดกภูมิปัญญาของชุมชนบ้านบุ ที่สืบทอดกันมากว่า 200 ปี ยังผลิตด้วยมือและกรรมวิธีแบบโบราณ โดยต้องอาศัยช้างหลายสาขาทำงานประกอบกัน
การผลิตขันลงหิน ปัจจุบันเหลือเพียงที่ชุมชนบ้านบุแห่งเดียวในประเทศไทย โดยมี ครูเมตตา เสลานนท์ ที่ยังคงมุ่งมั่นสืบสานงานขันลงหิน
ขณะที่ชุมชนบ้านบาตร ก็ยงสานต่อการตีบาตรแบบโบราณ ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนอยู่เพียง 3 ครอบครัว อาทิ ครูหิรัญ เสือศรีเสริม เป็นต้น
โดยบาตรพระ เป็นหนึ่งในอัฐบริขารของพระสงฆ์ และบาตรที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยในสมัยโยราณนั้นต้องเป็นบาตรบุ หรือบาตรที่ทำขึ้นด้วยมือ ประกอบด้วยเหล็ก 8 ชิ้น ซึ่งปัจจุบันยังเหลือแค่ที่ชุมชนบ้านบาตรเท่านั้น
ชมผ่านยูทูบที่นี่ : https://youtu.be/rtq4DcVTPis

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ