เล่าเรื่องไทยๆ กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง ตอน 'หัตถกรรมเครื่องดนตรี ที่ใกล้สูญหาย'

ไลฟ์สไตล์

เล่าเรื่องไทยๆ กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง ตอน 'หัตถกรรมเครื่องดนตรี ที่ใกล้สูญหาย'

โดย

10 ก.ย. 2563

1.1K views

นิทรรศการ ชุด หัตถกรรมชั้นครูที่ใกล้สูญหาย ที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หรือ ศ.ศ.ป. อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พาชมเครื่องดนตรี อย่างกลองแขก ฝีมือครูช่างทำกลอง ที่อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง อังกะลุง หัตถกรรมเครื่องดนตรี ที่ทำจากไม้ไผ่ที่ใกล้สูญหาย รวมทั้งการแกะสลักฆ้องมอญ ที่วิจิตรบรรจง ตามแบบบภูมิปัญญาโบราณ
กลองแขกเป็นเครื่องตี รูปทรงกระบอก มี ๒ หน้าปัจจุบันช่างฝีมือในการทำกลองที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยและนับวันก็จะลดน้อยลง แค่ก็ยังคงมีผู้ที่ทำกลองแขกแบบโบราณ อย่าง ครูสนั่น บัวคลี่ ช่างทำกลองคนสำคัญของ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เพื่ออนุรักษ์การทำกลองแขกให้คงอยู่ จนกว่าจะสิ้นลมหายใจ 
อังกะลุง เป็นหัตถกรรมเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่ง มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นผู้นำเข้ามาในเมืองไทย เมื่อปีพุทธศักราช อังกะลุงชุดนี้ เป็นฝีมือของ คุณครูพลกฤต ขัน ช่างทำอังกะลุงยุคแรกของไทย มีลักษณะเด่น คือที่ฐานไม้ทำเป็นรูปคล้ายเรือ และมี ครูพีรศิษย์ บัวทั่ง เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญ ที่อนุรักษ์ สืบสานการทำอังกะลุง มากว่า ๔๐ ปี เพื่อรักษาภูมิปัญญานี้ให้คงอยู่
ส่วนฆ้องมอญ เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ มีรูปทรงตั้งโค้งขึ้นไปทั้ง ๒ ข้าง นิยมตกแต่งด้วยการแกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ ตั้งแต่ส่วนหัวฆ้อง ไปจนถึงส่วนท้ายของวงฆ้อง การแกะสลักฆ้องมอญจึงเป็นงานที่สะท้อนถึงฝืมือเชิงช่าง ที่ต้องอาศัยทั้งทักษะ ฝีมือ ความชำนาญ และความรู้ในภูมิปัญญาโบราณ
รับชมผ่านยูทูปได้ที่นี่ : youtu.be/ajnQvTlPtSc

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ