'ทันตแพทย์' ยันเลิกใช้โคเคนทางทันตกรรมนานแล้ว ชี้ส่งผลกระทบเยอะ

สังคม

'ทันตแพทย์' ยันเลิกใช้โคเคนทางทันตกรรมนานแล้ว ชี้ส่งผลกระทบเยอะ

โดย

31 ก.ค. 2563

1.7K views

จากการณีที่เป็นวิพากษ์วิจารณ์ถึงคดีของ บอส วรยุทธ ถึงการตรวจพบสารโคเคน อยู่ในร่างกายของ บอส  แต่เรื่องดังกล่าวกับไม่ได้อยู่ในสำนวน 
ล่าสุด พ.ต.ท.พจนารถ พุ่มประกอบศรี นายกทันตแพทยสภา เผยว่า โคเคนเป็นสารจากต้นโคคา ซึ่งจะพบในแทบอเมริกาใต้ เดิมใช้เป็นยาชา แต่ต่อมาพบว่ามีผลข้างเคียงทำให้เกิดความดันสูง และมีผลต่อเส้นเลือดหัวใจจึงเลิกใช้ ทั้งนี้ทาง ทันตแพทยสภาไม่เคยใช้โคเคนเป็นยาชา เนื่องจากมียาตัวอื่นที่ดีกว่าและไม่มีผลต่อร่างกาย
ขณะที่ทางเพจ ห้องทำฟันหมายเลข 10 เผยถึงเรื่องกล่าวว่า 
เรื่องนี้จะไม่แปลกถ้าเป็นเมื่อ ศตวรรษที่ 18 !!! หมอฟันคนนั้นต้องนั่งไทม์แมชชีนมาแน่นอน
หนึ่งในยาที่ใช้มากที่สุดในทางทันตกรรม คือ ยาชา โดยยาชาตัวแรกที่นำมาใช้ทางการแพทย์คือโคเคน (cocaine) ในปี ค.ศ. 1859 (150 ปีมาแล้ว!!!) แต่ด้วยข้อเสียของโคเคนที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้น และมีฤทธิ์เสพติด จึงมีการพัฒนายาที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายโคเคน ชื่อ Procaine ขึ้นในปีค.ศ. 1904
แต่ในปีค.ศ. 1948 มีการนำยาชาที่มีสูตรโครงสร้างต่างไปจาก cocaine และ procaine ได้แก่ lidocaine และมียาชาที่พัฒนาต่อเนื่องตามมาได้แก่ mepivacaine (ค.ศ. 1965) prilocaine (ค.ศ. 1983; ยาชนิดนี้ไม่มีใช้ในประเทศไทย) และ articaine (ค.ศ. 2000)
โดยยาชาทั้งสามกลุ่มนี้มีสูตรโครงสร้างคนละแบบกับโคเคน รวมทั้งกระบวนการขับยาออกจากร่างกายก็ได้สารเคมีคนละกลุ่มกับโคเคน
ขณะที่ เรื่องนี้จะไม่แปลกถ้าเป็นเมื่อ ศตวรรษที่ 18 !!! หมอฟันคนนั้นต้องนั่งไทม์แมชชีนมาแน่นอน
หนึ่งในยาที่ใช้มากที่สุดในทางทันตกรรม คือ ยาชา โดยยาชาตัวแรกที่นำมาใช้ทางการแพทย์คือโคเคน (cocaine) ในปี ค.ศ. 1859 (150 ปีมาแล้ว!!!) แต่ด้วยข้อเสียของโคเคนที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้น และมีฤทธิ์เสพติด จึงมีการพัฒนายาที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายโคเคน ชื่อ Procaine ขึ้นในปีค.ศ. 1904
แต่ในปีค.ศ. 1948 มีการนำยาชาที่มีสูตรโครงสร้างต่างไปจาก cocaine และ procaine ได้แก่ lidocaine และมียาชาที่พัฒนาต่อเนื่องตามมาได้แก่ mepivacaine (ค.ศ. 1965) prilocaine (ค.ศ. 1983; ยาชนิดนี้ไม่มีใช้ในประเทศไทย) และ articaine (ค.ศ. 2000)
โดยยาชาทั้งสามกลุ่มนี้มีสูตรโครงสร้างคนละแบบกับโคเคน รวมทั้งกระบวนการขับยาออกจากร่างกายก็ได้สารเคมีคนละกลุ่มกับโคเคน
ทางด้าน ขณะที่ รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อาจารย์อ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Weerachai Phutdhawong ว่า Cocaethylene ที่ตรวจพบในเลือด เกิดจากการเสพโคเคนร่วมกับแอลกอฮอล์ ไม่เกี่ยวกับโคเคนรักษาฟัน โคเคนที่ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ในงานทันตกรรมคือ Lidocaine หรือที่เรียกว่า lignocaine หมอใช้ปริมาณน้อย ต่างจากตัวที่ตรวจพบในเลือด.
ชมผ่านยูทูปที่นี่ : https://youtu.be/VaHzLqJTdRw

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ