เปิดมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 ชุด 3 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท

สังคม

เปิดมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 ชุด 3 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท

โดย

7 เม.ย. 2563

68.4K views

คณะรัฐมนตรี อนุมัติมาตรการดูแล และเยียวยาโควิด-19 ชุดที่ 3 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท พร้อมให้อำนาจกระทรวงคลังกู้เงิน เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาประชาชน ขณะที่ผู้ติดเชื้อรายใหม่ พบ 38 คน เสียชีวิตเพิ่้ม 1 คน 
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 แถลงวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 38 คน และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 คน ทำให้ขณะนี้มีผู้ป่วยสะสม 2,258 คน รักษาหาย 824 คน ยังต้อง รักษาตัว 1,407 คน และเสียชีวิตรวม 27 คน 
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือผู้ป่วยที่สัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้านี้ มี 17 คน ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ และมีทั้งติดจากในบ้าน ที่ทำงานและกลุ่มเพื่อน กลุ่มที่สอง ผู้ป่วยรายใหม่ 16 คน เป็นคนไทยที่กลับจากต่างประเทศ 3 คน ไปในสถานที่ที่แออัด 3 คน เป็นกลุ่มอาชีพเสี่ยง 7 คน และเป็นบุคลากรทางการแพทย์ 3 คน ทำให้ขณะนี้ มีบุคลากรทางาการแพทย์ติดเชื้อแล้ว 53 คน และกลุ่มที่ 3 อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 5 คน
นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณโควิด - 19 ย้ำว่าตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ลดลง เพราะ 3 ปัจจัยคือ 
การใช้พรก.ฉุกเฉิน ประกอบกับการ ประกาศ เคอร์ฟิว การควบคุมภายในประเทศรวมถึงความร่วมมือของประชาชน และปัจจัยสุดท้ายคือกลุ่มเสี่ยงมีสถานที่รองรับชัดเจน
อีกด้านหนึ่งนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงมาตรการดูแลและเยียวยา จากวิกฤตโควิด-19 ระยะที่ 3 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย
ให้กระทรวงการคลังออก พ.ร.ก.กู้เงิน วงเงิน 1 ล้านล้านบาท เพื่อนำไปใช้ดูแลผลกระทบ เยียวยาประชาชน ซึ่งขยายจาก 3 เดือน เป็น 6 เดือน เยียวยาเกษตรกร และดูแลงาน ด้านสาธารณสุข รวมวงเงิน 6 แสนล้านบาท 
ส่วนและอีก 4 แสนล้านบาท นำไปใช้ในแผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม เช่น การสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจและชุมชน จะมีผล บังคับใช้ภายในเมษายนนี้ และดำเนินการให้เสร็จภายใน 30 กันยายน 64 โดยจะเป็นการทยอยกู้ให้สอดคล้องกับความต้องการ และไม่จำเป็นต้องกู้ทั้งหมด 1 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ ยังจะออก พ.ร.ก.ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทย ออกซอฟท์โลน ดูแลผู้ประกอบการเอ็สเอ็มอี เป็นวงเงิน 5 แสนล้านบาท คิดดอกเบี้ย 2% และธนาคารพาณิชย์ จพพักชำระหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย นาน 6 เดือน ให้เอสเอ็มอี.ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท 
และพ.ร.ก.ดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน วงเงิน 4 แสนล้านบาท ตั้งกองทุนรวม BSF และให้แบงก์ชาติซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุนดังกล่าว
นอกจากนี้ ครม. ยังเห็นชอบให้จัดทำ พ.ร.บ.จัดโอนงบประมาณ ปี 63 เติมในงบกลาง เบื้องต้นให้แต่ละหน่วยงานตัดงบร้อยละ 10 ซึ่งจะได้เงินราวแปดหมื่นถึงแสนล้านบาท ส่วนงบกลางเหลือประมาณสามพันล้านบาท โดยจะเร่งนำเข้า ครม. และสภา เพื่อประกาศใช้ได้ในเดือนมิถุนายนนี้ 
วันพรุ่งนี้ ผู้ที่ผ่านการตรวจสอบการลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5 พันบาท จะมี 4 กลุ่มอาชีพที่จะได้รับเงิน คือผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล คนขับรถแท็กซี่ วินจักรยานยนต์รับจ้าง และมัคคุเทศก์ ส่วนอาชีพอื่นๆอยู่ระะหว่างตรวจสอบ คัดกรอง 
นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีมีมติ รับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอเลื่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จาก 16 พฤษภาคม เป็น 1 กรกฎาคม

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ