ประชาสัมพันธ์

GC จับมือ 20 คู่ค้า Upcycling ขยะพลาสติก แบบ Eco -Design ขยายโอกาสทางธุรกิจ

โดย nicharee_m

23 ธ.ค. 2564

1.3K views

GC เล็งเห็นถึงความสำคัญของ Circular Economy หรือเศรษฐกิจนหมุนเวียน และดำเนินการผ่านแนวทาง GC Circular Living ตลอดหลายปีที่ผ่านมา และได้จัดโครงการ Upcycling Upstyling ขึ้น ตั้งแต่ปี 2563 เพื่อสร้างความตระหนักรู้และขยายโอกาสทางธุรกิจของผลิตภัณฑ์ Upcycling โดยการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าผ่านการออกแบบโดยนักออกแบบชั้นนำที่มีชื่อเสียงและผลงานระดับโลก และได้รับเสียงตอบรับจากกลุ่มลูกค้า คู่ค้าและประชาชนทั่วไปเป็นอย่างดี

ในปีนี้ GC จึงต่อยอดโครงการในปีที่ 2 โดยเพิ่มการดำเนินการที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Upcycling กล่าวคือ นอกจากร่วมมือกับนักออกแบบที่มีผลงานในระดับสากลเช่นเคยแล้ว ยังได้ขยายความร่วมมือตลอดทั้ง Value Chain ผ่านการสร้าง Loop Connecting ร่วมกับลูกค้าและคู่ค้า เพื่อนำขยะพลาสติกที่หลากหลายมา Upcycling ให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่น่าสนใจในกลุ่มวัสดุก่อสร้างและสินค้าตกแต่งทั้งภายในและภายนอก ภายใต้รูปแบบงาน (Theme) Home & Living

ในโครงการ มีการนำขยะพลาสติกหลังการใช้งานกว่า 10 ประเภท จากทั้ง 20 แบรนด์คู่ค้า มาสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบที่เป็น Eco -Design 20 ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Home&Living โดย 10 Expert of Style ชั้นนำ ผ่านการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยกระบวนการที่แตกต่างกันโดยผู้ประกอบการพลาสติกถึง 13 รายโดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ย่อย ดังนี้ Construction Material, Outdoor Furniture, Indoor Furniture และ Home & Decoration


PAVA – TPBI – Harumiki เจ้าของผลงาน : Domestic Nursery




บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ฮารุมิกิเฮาส์ ร่วมกับดีไซน์เนอร์ คุณพชรพรรณ รัตนานคร  และคุณวารัตน์ ลิ่มวิบูลย์ หรือ PAVA และผู้ผลิต บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) สร้างสรรค์ผลงาน โรงเรือนจิ๋วอเนกประสงค์ จากฟิล์มโรงเรือนที่ถูกใช้งานแล้วถูกนำมาล้าง บด และ หลอม ผสมกับเม็ดพลาสติก LDPE ก่อนนำไปเป่าขึ้นรูปเป็นฟิล์ม นำมาตัด ประกอบ กลายเป็น โรงเรือนขนาดเล็ก ใช้ภายในบ้าน ที่มีรูปแบบและขนาดหลากหลาย เพิ่มความพิเศษ โดยลดขนาดเป็นโรงเรือนจิ๋วอเนกประสงค์ ที่ใช้ในบ้านและคอนโด เปรียบฟิล์มโรงเรือน เสมือนพ่อแม่ประคับประคองต้นกล้าของพืชจึงออกแบบผลิตภัณฑ์ Upcycling เป็นฟิล์มโรงเรือนอีกครั้ง


Stu – Feiltech – Ichitan เจ้าของผลงาน : Field Bed & Stool Chair




คุณพฤทธิพงศ์  ลิมาภรณ์วณิชย์  ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดบริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ดีไซน์เนอร์ คุณชนาสิต ชลศึกษ์ และคุณอภิชาติ  ศรีโรจนภิญโญ หรือ Stu/D/O Architects และผู้ผลิต คุณเฉลิมชัย พัวพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฟลเทค แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด สร้างสรรค์ผลงาน เตียงสนามและเก้าอี้สนาม จากขยะประเภทขวดน้ำพลาสติกและผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มของอิชิตันกรุ๊ป แรงบันดาลใจมาจากความต้องการเปลี่ยนขยะประเภทขวดน้ำพลาสติกและผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มให้เป็นของที่มูลค่าและใช้ประโยชน์ได้จริงของอิชิตันกรุ๊ป ประเภทขวดน้ำพลาสติกและผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ผ่านกระบวนการ คัดแยก บด ฉีดเส้นใย และอัดแผ่นด้วยเทคนิคพิเศษเฉพาะตัว ออกแบบเตียงสนามขนาดใหญ่ ดีไซน์สวย รองรับน้ำหนักได้ดี ถอดประกอบง่าย และเก้าอี้สนามมิติใหม่ จากการสร้างสรรค์ที่ลงตัว สู่เก้าอี้รูปทรงแปลกตา ลบภาพเก้าอี้แบบเดิมๆ


PSD – Advanced – Doikham เจ้าของผลงาน : The Mountain




คุณรมร ธนะโสภณ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายสังคมและการพัฒนา คุณอัญกรณ์ มีนะกรรณ  ผู้จัดการฝ่ายบริหารงานออกแบบ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ร่วมกับ ดีไซน์เนอร์ คุณศุภรัตน์ ชินะถาวร หรือ P.S.D. และผู้ผลิต คุณวิศรุจน์ จันแป้น ผู้ก่อตั้ง บริษัท แอดวานซ์ แมท จำกัด สร้างสรรค์ผลงาน ชั้นวางสำหรับขายสินค้าในร้านดอยคำ จากกล่องน้ำผลไม้ UHT นำแนวคิดของภูเขามาคิดให้สอดคล้องกับงานออกแบบ และตกตะกอนออกมาเป็นชั้นวางสำหรับขายสินค้าในร้าน เป็นรูปทรง ‘ภูเขา’ ที่แสดงความเป็น ‘ดอยคำ’


PIA – Best Polymer – TARF เจ้าของผลงาน : SWAG Project (supper structure waste playground)




คุณเจนวิทย์ กรอบทอง ผู้จัดการโครงการ บริษัท ทีเออาร์เอฟ จำกัด ร่วมกับ ดีไซน์เนอร์ คุณภฤศธร สกุลไทย หรือ PIA และผู้ผลิต บริษัท เบสท์ โพลิเมอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สร้างสรรค์ผลงาน วัสดุปูพื้น จากการจัดเก็บขยะ 3 แหล่งหลัก ของ TARF ในพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ โครงการส่งพลาสติกกลับบ้าน และโครงการแยกขวดช่วยหมอ โดยได้แรงบันดาลใจจาก สนามเด็กเล่นคนเมืองที่ทำจากวัสดุ recycle ใช้เทคนิคแยกสีเศษวัสดุเหลือใช้ เพื่อคุมโทนสีให้สวยงาม และง่ายต่อการนำไปใช้ออกแบบ ให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของเมือง


Prompt – Advanced – Lion เจ้าของผลงาน : Every Day




คุณรัชกฤช กาญจนาประดิษฐ ผู้จัดการส่วนพัฒนาบรรจุภัณฑ์ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับดีไซน์เนอร์ คุณสมชนะ กังวาลจิตต์ หรือ Prompt Design และผู้ผลิต คุณวิศรุจน์ จันแป้น บริษัท แอดวานซ์ แมท จำกัด สร้างสรรค์ผลงาน ที่บีบหลอดยาสีฟัน จากหลอดยาสีฟันใช้แล้ว ของ Lion 100% PIR waste ที่นำคาแรคเตอร์ของตัวแทนช่วงเวลาในแต่ละวัน มาเป็นแกนไอเดีย เสริมลูกเล่นด้วย Story telling ด้วยการให้เด็กแปรงฟันผ่านเรื่องราวนิทาน ที่มีตัวละครอย่างลุงพระอาทิตย์ กับป้าพระจันทร์ เพื่อเริ่มต้นการสร้างกิจวัตรที่ดีให้กับเด็กๆ

แท็กที่เกี่ยวข้อง  UpcyclingUpstyling ,GC

คุณอาจสนใจ

Related News