เลือกตั้งและการเมือง

"บิ๊กตู่" ซัด "จิราพร" ปมเหมืองทอง ชี้นำให้เกิดความเข้าใจผิด "สุริยะ" แจง ใช้ผงทองแลกถอนฟ้อง ไม่เป็นความจริง

โดย sitanan_k

18 ก.พ. 2565

81 views

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกล่าวชี้แจงว่า ตนฟังมาทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ซึ่งมีความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ซึ่งตนจะนำไปดำเนินการต่อไปในหลายเรื่องด้วยกัน ประการแรกต้องทำความเข้าใจซึ่งกันและกันก่อนว่าเหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นมาจากอะไร รัฐบาลในทุกสมัยต้องมีหน้าที่พิจารณาการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างเหมาะสม



สถานการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2535 -2544 รัฐบาลในช่วงนั้นได้เห็นชอบตามกฏหมายพ.ร.บ. การประกอบกิจการเมืองแร่ พ.ศ. 2510 เชิญชวนให้มีการลงทุน สนับสนุนให้มีการทำเมืองทองในจังหวัดพิจิตร ซึ่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นก็ได้เดินทางไปต้อนรับการเปิดเมืองกาญจน์ผลิตทองคำเพื่อทำประโยชน์ให้กับประเทศและผู้ลงทุนที่เป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจากต่างประเทศซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นบริษัทเดิมอยู่



จนกระทั่งปี 2554 รัฐบาลต่อมาได้มีการระงับการต่อใบอนุญาตประทานบัตรจำนวนหนึ่งแปลงยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน เพราะความไม่ชัดเจนในหลายเรื่อง ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องร้องขั้นตอนการออกใบอนุญาตเรื่องนี้อยู่ในขั้นตอนของศาลปกครองจนถึงปัจจุบัน



นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่เกิดจากสารพิษตกค้างจากการทำเหมือง ในช่วงรัฐบาลคสช. เข้ามาทำหน้าที่ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงว่าปัญหาต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นมาก่อนแล้วและการเข้ามาบริหารบ้านเมืองในขณะนั้นถือว่าประเทศอยู่ในสภาวะไม่ปกติ รัฐบาลได้มีการพิจารณานำทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้อย่างเหมาะสมเช่นเดียวกันซึ่งขนาดนั้นมีข้อโต้แย้งมากไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการอนุญาตขาดความรัดกุมและเพื่อเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องใช้เวลาในการทบทวนข้อกฎหมาย พ.ร.บ. การประกอบกิจการเมืองแร่ พ.ศ. 2510 และกรอบนโยบายเกี่ยวกับการทำเหมืองเพื่อลดปัญหาที่หมักหมมมานานรัฐบาลมีความชอบธรรมที่จะดำเนินการใดใดที่เห็นว่ามีความจำเป็น




พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า ภายหลังที่มีการปรับปรุงพ.ร.บ. การประกอบกิจการเมืองแร่ พ.ศ. 2560 มีการออกนโยบายการทำเหมืองแร่ใหม่ในปีเดียวกันนี้มีบริษัทเอกชนที่มีความสนใจในการทำเหมืองได้เข้ามาขอใบอนุญาตใหม่และขอต่อใบอนุญาตเดิมกว่า 100 ราย ถ้าเอกชนรายใดมีขีดความสามารถทำตามที่กฎหมายกำหนดในการขออนุญาตฯ ก็เข้ามายื่นเรื่องตามขั้นตอน ก็มีสิทธิ์ที่จะได้รับใบอนุญาตและการจัดประชุมเพื่ออนุมัติใบอนุญาต ก็เป็นไปในลักษณะของคณะกรรมการพิจารณา



และบริษัทอัคราก็เป็นบริษัทหนึ่งถึงแม้จะมีผู้ถือหุ้นของบริษัทจะมีคดีความฟ้องร้องต่อรัฐบาลไทย แต่ก็ไม่ได้เป็นข้อจำกัดสิทธิต่อบริษัทดังกล่าวนี้ที่จะเดินเรื่องขอต่อใบอนุญาต ตามที่ประธานบัตร 1 แปลงของบริษัทอัครา หมดอายุในปี 2555 และขอต่อใบอนุญาตไว้ในปี 2554 แต่ยังถูกระงับการต่ออายุ และในปี 2563 ยังมีอีก 3 แปลง ที่จะหมดอายุเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งจะหมดอายุภายหลังที่บริษัทอัคราหยุดกิจการปลายปี 2559 และได้ขอต่ออายุไว้ก่อนหมดอายุ



ดังนั้นการที่เรามีพ.ร.บ. การประกอบกิจการเมืองแร่ พ.ศ. 2560 ทางบริษัทอัคราได้มีการยื่นเอกสารเพิ่มเติมเพื่อขออายุทั้ง 4 แปลง ที่ค้างอยู่ตามสัมปทานที่เหลืออยู่ ซึ่งบริษัทเขาได้ทำตามขั้นตอนเช่นเดียวกับบริษัทเอกชนรายอื่นที่เข้ามาขออนุญาตจึงเป็นที่มาของการได้รับการใบอนุญาตประทานบัตรจำนวน 4 แปลง ในปลายปี 2564 และไม่ได้เป็นไปในการแลกเปลี่ยนกับรัฐบาลทั้งสิ้นรัฐบาลไม่ได้ตั้งเงื่อนไขแต่เป็นไปตามกฎหมาย พ.ร.บ. แร่ ใหม่ และย้ำว่าการต่อสัมปทาน 4 แปลง เป็นแปลงเดิมที่อนุญาตตั้งแต่ปี 2536 และ 2543 ตามลำดับ ถ้าหากจะตีความว่าการต่อดังกล่าวนี้เป็นการยกทรัพยากรธรรมชาติหรือยกสมบัติของชาติให้กับเอกชนตามอำเภอใจข้อกล่าวหานี้เป็นการกล่าวหาตั้งแต่รัฐบาลในยุคนั้นหรือเป็นข้อกล่าวหาที่ขัดต่อนโยบายการทำเหมืองตั้งแต่อดีตที่ผูกพันกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งตนพยายามแก้ไขปัญหาเพื่อให้ทุกอย่างเดินหน้าไปได้



ทั้งนี้ตามที่ผู้อภิปรายอ้างถึง การอนุญาตการสำรวจ 44 แปลงผู้อนุญาตการสำรวจนั้นจะต้องได้รับเงื่อนไขการอนุญาตว่ามีขีดความสามารถในการสำรวจเพราะเมื่อได้รับอนุญาตแล้วไม่สำรวจได้จะต้องจ่ายเงินตามที่ร้องขอทำแผนไว้ที่กระทรวงอุตสาหกรรม และค่าทำเนียมในการรับอนุญาตสำหรับแปลงสำรวจจะเพิ่มขึ้นทุกปีถ้าไม่ส่งคืนพื้นที่ซึ่งเป็นไปตามหลักการ สากลทั่วไป รวมทั้งเมื่อสำรวจเจอแล้วต้องรายงานให้กระทรวงอุตสาหกรรมทราบเพื่อพิจารณาผลประโยชน์เข้ารัฐ ซึ่งเป็นข้อมูลระดับกระทรวงที่สามารถสอบถามได้



ตนยืนยันว่าการดำเนินการของรัฐบาลจำเป็นต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศประชาชนเป็นหลักและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย รัฐบาลไม่ได้ต้องการทำเหมืองหรือยึดตัวเมืองมาเป็นของรัฐ อาจจะมีความเข้าใจไม่ตรงกัน เพียงแต่ขอให้ปฏิบัติตามระเบียบหรือกฎไหมเรื่องพ.ร.บ. แร่ใหม่ ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ รัฐบาลในสถานการณ์ปัจจุบันยินดีต้อนรับนักธุรกิจนักลงทุนที่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายสร้างประโยชน์ให้กับพื้นที่กับประชาชนไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ หรือมั่นใจว่าไม่ก่อความเสียหายให้กับสภาพแวดล้อม รวมทั้งนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์อย่างสมดุลย์



ซึ่งเรื่องนี้ขอย้ำว่าอยู่ระหว่างการพิจารณา ของอนุญาโตตุลาการ และตนขอให้การอภิปรายนี้ทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายต่อความน่าเชื่อถือของประเทศ และคำถามหลายข้อเกิดจากการอนุมานของผู้อภิปรายที่จะพยามบิดเบือนให้ประชาชนเห็นว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นแล้วอย่างร้ายแรงซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นจริง ทุกครั้งตนได้ตอบคำถามในการอภิปรายเสมอมา แต่ผู้อภิปรายอาจจะไม่ได้ตั้งใจฟัง และตนได้บอกเสมอว่าการเจรจาเกิดขึ้น โดยคำแนะนำของคณะอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเป็นทางออกที่เหมาะสมถึงกรณีพิพาทนี้ เนื่องจากมีความไม่เข้าใจกันอยู่หลายประการดังนั้นการเจรจาบ่นความไม่เข้าใจต้องใช้เวลาและอยู่ในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 ผู้เจรจาอยู่ในแต่ละประเทศคนละประเทศจึงต้องใช้เวลาในความเข้าใจ



นอกจากนี้ในส่วนการฟ้องร้องของคิงส์เกต เป็นเพราะความไม่เข้าใจและคิดว่าบริษัทลูกในประเทศไทยไม่ได้รับความเป็นธรรมถูกเลือกปฏิบัติเพราะมีผู้ถือหุ้นเป็นบริษัทต่างชาติเข้าฟ้องร้องจึงระบุว่ารัฐบาลมีเจตนายึดเมืองอย่างเคลือบคานโดยไม่ต่อใบอนุญาตตั้งแต่ปี 2554 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันและเข้าใจผิดว่าประเทศไทยจะเข้าไปทำเหมืองเอง ประเทศไทยต้องการจะยึดกิจการและสิ่งของในกระบวนการประกอบธุรกิจให้ตกเป็นของรัฐจึงแสดงออกมาในรูปแบบของรายการต่างๆที่เขาคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่น ไม่ได้รับการต่อใบอนุญาตในหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลมุ่งหวังประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ การบริหารต่างๆของหน่วยงานต้องเป็นไปตามกฏหมายและหลักธรรมาภิบาล



ซึ่งหน่วยงานกระทรวงมีการรายงานสิ่งที่ปฏิบัติอยู่ในแหล่งข้อมูลข่าวสารของกระทรวงอยู่แล้ว ข้อสรุปคือไปสู่การเจรจาการเลื่อนอ่านคำพิพากษากระบวนการปฏิบัติของฝ่ายไทยเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย และกฎหมายกำหนดชัดเจนว่าไม่สามารถจะได้รับการอนุญาตใดใดเรื่องการทำเหมืองในเขตอนุญาตเขตอุทยานแห่งชาติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขตโบราณสถาณโบราณวัตถุ พื้นที่เขตปลอดภัยและความสงบแห่งชาติหรือพื้นที่แหล่งต้นน้ำหรือเปล่าน้ำซับซึม การใช้มาตรา 44 ตนไม่เข้าใจว่าผู้อภิปรายมีความปรารถนาอย่างยิ่งยวด เพื่อชี้นำให้เกิดความเข้าใจผิดเพื่อผลประโยชน์ของใครก็แล้วแต่ โดยไม่คำนึงถึงประชาชนที่ต้องเสียประโยชน์เพราะการเจรจาเป็นการทำความเข้าใจให้เกิดผลดี เหมือนผู้อภิปรายอยากให้ประเทศชาติเสียหายอยากให้ตนเสียหาย และให้มีความผิดในการใช้มาตรา 44 หรือกฎหมายปกติในการใช้กฎหมายของกระทรวง ให้ยุติการทำเหมืองเป็นการชั่วคราว



การฟ้องร้องผ่านกลไกยังทำได้ดี ถ้าผู้อภิปรายเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่ถูกต้องชอบธรรมก็ควรอธิบายให้เกิดความเข้าใจไม่ควรนำมาผูกเรื่องกับเมืองทองเพื่อประโยชน์ของใครก็แล้วแต่ สิ่งที่เราทำคือการแก้ไขปัญหาและมาตรา 44 ที่ออกไปให้ไปดูในสาระรายละเอียดเขียนว่าเป็นเรื่องที่ต้องเข้าไปตรวจสอบดำเนินการและให้เมืองทุกประเภทให้ทำในกรอบของกฎหมาย แก้ไขในส่วนที่ผิด



ดังนั้นการจะพูดอะไรขอให้ระมัดระวังหากเกิดปัญหาในอนาคตคงไม่ใช่ตนคนเดียวก็ต้องย้อนกลับไปสู่ตั้งแต่รัฐบาลปีไหนก็ไม่รู้ แล้วทำไมไม่แก้ไขปัญหาตั้งแต่ตอนนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมาขอให้เข้าใจว่าทุกปัญหาในวันนี้ที่มาอภิปรายรัฐบาลครั้งนี้ บางเรื่องเคยได้รับการแก้ไขบ้างหรือไม่ ก็ไม่เคย และมาแก้ไขในรัฐบาลนี้และแก้ไขเสร็จหรือยังก็ไม่ทราบไม่รู้ไม่ฟังบางอย่างอยู่ในกระบวนการก็ตีให้มันแตกตั้งแต่ต้น ตนถามว่าประเทศไทยจะไปตรงไหน มีวิธีการแก้ปัญหาที่ดีกว่านี้หรือไม่ เรื่องที่เกิดมาแล้วเรื่องที่เป็นปัญหาอุปสรรคมีวิธีการที่ดีกว่านี้ตามมาตรา 152 ใครเสนอมาทุกเรื่อง ถ้าพูดง่ายง่ายตีกันไปแบบนี้ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรกับประเทศชาติสักอย่าง ต้นขอให้สภาเป็นสถานที่รับฟังรับข้อเสนอแนะตนพร้อมจะรับฟัง แต่ถ้ามุ่งหวังว่าจะตีรัฐบาลจะล้มรัฐบาลจะให้นายกฯ ออกให้ได้ ตนว่าไม่ใช่ ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่หน้าที่ของท่าน หน้าที่ของท่านคือไปเข้ากระบวนการ เมื่อวานมีการเตรียมให้ตนยื่นใบลาออกเก็บไว้ให้ตัวเองก็แล้วกัน ตนไม่ลาออกทั้งนั้น




ด้านนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงว่า กรณีที่นางสาวจิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย กล่าวหาระหว่างอภิปรายว่าการเจรจาเลื่อนคำชี้ขาดในชั้นอนุญาโตตุลาการทุกครั้ง ประเทศไทยจะมีสิทธิประโยชน์ให้บริษัทคิงส์เกตนั้น เป็นความเท็จทั้งนั้น ส่วนเรื่องที่อ้างว่าคิงส์เกตนำข้อมูลในชั้นอนุญาฯมาเปิดเผยได้ แต่ฝ่ายไทยกลับไม่เปิดเผย ชี้แจงว่าตามหลักการ ตราบใดที่ยังไม่ออกคำชี้ขาด ทั้งสองฝ่ายไม่สามรถเปิดเผยข้อมูลได้ ส่วนข้อมูลที่คิงส์เกตนำมาเปิดเผยนั้นไม่ใช่ข้อมูลในคดี หรือจากการไต่สวน แต่เป็นข้อมูลในการยุติข้อพิพาทที่บริษัทอยากได้และเรียกร้อง ไม่ใช่ข้อตกลงของทั้ง 2 ฝ่าย ยืนยันหน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรมก็เปิดเผยข้อมูลเช่นกัน โดยออกเป็นข่าวประชาสัมพันธ์





นายสุริยะ บอกอีกว่ายังมีการกล่าวหาว่ามีการอนุญาตอาชญาบัตรสำรวจแร่ 44 แปลง และอนุญาตให้ใช้ผงเงินผงทองที่ถูกอายัดไว้แต่แลก เพื่อแลกกับการให้คิงส์เกตถอนฟ้องไทยนั้น ก็ไม่เป็นความจริง




อย่างไรก็ตาม การอนุญาตสำรวจและทำเหมืองแร่ เริ่มเปิดเหมืองตรงกับยุครัฐบาลของนายทักษิณ ชินวัตร โดยบริษัท อัคราฯ ยื่นขอสำรวจเมื่อปี 2546 – 2548 ต่อมาปี 2549 คำขออยู่ระหว่างการพิจารณาเตรียมเสนอขออนุมัติแต่เกิดรัฐประหารก่อน กระทั่งปี 2550 สมัยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯ มีมติคณะรัฐมนตรีให้ชะลอการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำไว้ก่อน เพื่อจัดทำนโยบายทองคำให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศและประชาชน กระทั่งปี 2557 ประชาชนรอบเหมืองประสบปัญหาสุขภาพจากการทำเหมือง และความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. จึงส่งหน่วยงานจาก 4 กระทรวงลงไปตรวจสอบ และมีข้อเสนอให้ยุติการทำเหมืองไว้ก่อน พล.อ.ประยุทธ์ จึงมีคำสั่งคสช.ที่ 72/2559 เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.59 ให้ยุติการทำเหมืองชั่วคราว และให้กระทรวงอุตสาหกรรม ไปปรับปรุงการทำเหมืองทองคำใหม่ ต่อมาวันที่ 1 ส.ค.60 ครม.มีมติรับทราบนโนบายทองคำ มีผลให้บริษัท อัคราฯ ยื่นขออนุญาตอาชญาบัตรพิเศษที่เคยยื่นค้างไว้ และที่บริษัท อัคราฯ ยังไม่กลับมาเดินเรื่องต่อทันที เพราะมีการฟ้องร้องคดีกันอยู่เกรงว่าจะกระทบรูปคดีในช่วงนั้น



นายสุริยะ กล่าวอีกว่า ส่วนที่กล่าวหาว่าการอนุญาตให้บริษัท อัคราฯ เอาผงทองไปขายเพื่อแลกเปลี่ยนการถอนฟ้องคดีนั้น ในอดีตบริษัท อัคราฯ จะนำผงทองคำ และเงิน ที่ได้จากการทำเหมืองมาหลอมเป็นแท่งโลหะทองผสมเงินส่งออกต่างประเทศ แต่ช่วงที่คสช.ระงับการทำเหมืองตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.60 บริษัท อัคราฯ มีผงทอง ผงเงิน ค้างอยู่ ต่อมาวันที่ 9 ส.ค.60 มีการยกเลิกการระงับการประกอบกิจการชั่วคราว ดังนั้น ในหลักการบริษัท อัคราฯ สามารถนำผงทองคำ และเงิน ที่เหลือไปหลอมส่งออกต่างประเทศได้ ซึ่งไม่ใช่การนำทรัพยากรของชาติไปแลกแต่อย่างใด



คุณอาจสนใจ

Related News