เลือกตั้งและการเมือง

ครูธัญ ชี้แจงทั้งน้ำตา กลางสภาเสนอกฎหมายสมรสเท่าเทียม

โดย onjira_n

9 ก.พ. 2565

163 views

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันนี้ที่ประชุม ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามที่นายธัญวัจน์  กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส. พรรคก้าวไกลเป็นผู้เสนอ

ทั้งนี้ก่อนเริ่มพิจารณา นายชวน หลีกภัยประธานสภาฯ ได้เตือนไปยังรัฐบาล ว่าหากต้องการใช้สิทธิตามข้อบังคับ เพื่อขอนำร่างกฏหมาย ที่สมาชิกเสนอ ไปพิจารณาก่อนรับหลักการนั้นควรแจ้งล่วงหน้าก่อน ทั้งนี้เป็นผลมาจากที่ กฎหมาย2 ฉบับของพรรคก้าวไกลที่มีการเสนอมา ก่อนหน้านี้ ทั้งร่างพระราชบัญญัติสรรพสามิต และร่างพระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่รัฐบาล ได้ขอใช้สิทธิ์ตามข้อบังคับ จนทำให้สภา ไม่สามารถพิจารณาต่อ เข้าสู่วาระหนึ่ง ในชั้นรับหลักการได้



สำหรับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น สาระสำคัญ คือการกำหนดให้การสมรสที่ไม่จำกัดเพศเพียงชายหญิง และการสมรสที่ให้สิทธิทุกอย่างเท่ากับชายหญิง รวมไปถึงการสมรสของผู้มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา ที่ไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อบุคคลด้วยเหตุแห่งเพศ



ทั้งนี้นายธัญวัจน์ ได้ชี้แจงหลักการในฐานะผู้เสนอร่าง กฎหมาย ว่าเป็นการแก้ไข เผื่อให้ชายหญิงหรือบุคคลที่เป็นเพศเดียวกัน สามารถ หมั้นหรือสมรส เป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย เปิดโอกาสให้คู่สมรสเพศเดียวกันสามารถรับเลี้ยงดูบุตรบุญธรรม ได้ ตามกฎหมาย



นายธัญวัจน์ กล่าวว่ากฎหมายปัจจุบัน มีความเลือกปฏิบัติและไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ขัดต่อการดำรงอยู่ของบุคคลกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ จะทำให้บุคคลทุกคนมีความเท่าเทียม และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

เนื่องจากในปัจจุบันกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่ได้รับสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน ในการก่อสร้างครอบครัว ทำให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศไม่มีสิทธิ์ไม่มีศักดิ์ศรีและไม่มีสวัสดิการ ทั้งนี้ช่วงหนึ่ง นายธัญวัจน์ ได้กล่าวทั้งน้ำตาว่า สิ่งที่ผู้มีความหลากหลายทางเพศเรียกร้อง ไม่ได้เป็นการเรียกร้องมากไปกว่าผู้อื่น แต่สิ่งที่ออกมาเรียกร้อง เพียงแค่ต้องการบอกผู้มีอำนาจว่า เราถูกพลาก สิทธิ์ในการก่อตั้งครอบครัว ทั้งที่สิทธิ์ในการก่อตั้งครอบครัว เป็นสิทธิ์ที่ทุกคนควรต้องมี และเรื่องนี้ในหลายประเทศก็มีการคุ้มครองสิทธิ์นี้ไว้ รวมถึงยังเป็นเรื่องที่ได้รับการรับรอง ไว้ในพันธะกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเองก็เข้าร่วมเป็นภาคี



ซึ่งการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ครั้งนี้ เป็นการเปลี่ยนจากคำว่าชาย- หญิง เป็นคำว่า”บุคคล” สอดคล้องกับหลักการระหว่างประเทศ ว่าการบัญญัติกฎหมายนั้นจะต้องคำนึงถึงเรื่องของเพศสภาพ เพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ และปัจจุบัน มีมากกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว



นายธัญวัจน์ ยังได้ถ่ายทอดปัญหา ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่หลายคนมองว่าปัจจุบัน มีสิทธิเสรีภาพเพียงพอแล้ว แต่ข้อเท็จจริง มาคู่รักเพศเดียวกันใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน แต่ในยามป่วยไข้ ตามกฎหมายแล้ว ไม่สามารถให้คู่รักเซ็นยินยอม รักษาพยาบาลได้ การทำประกันชีวิต ที่ต้องระบุผู้ได้รับผลประโยชน์ ก็ไม่สามารถระบุชื่อคู่รักเพศเดียวกันได้ รวมไปจนถึงการซื้อทรัพย์สิน บ้าน และที่อยู่อาศัย ที่ไม่สามารถถือครองร่วมกันได้ ดังนั้นหากเราไม่แก้ไขกฎหมายฉบับนี้ เท่ากับว่าประเทศไทยไม่ได้ให้คุณค่า ความรักของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ



จากนั้น ที่ประชุมได้มีการอภิปราย กันอย่างหลากหลาย แต่รัฐบาลแจ้งความจำนงจะขอรับไปพิจารณาภายในกรอบ 60 วันก่อนส่งให้สภาฯ ลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่ ทำให้ส.ส.อภิปรายคัดค้านและไม่เห็นด้วย โดยนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่าพรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วยที่จะส่งเรื่องไปให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา 60 วัน เพราะไม่มีเหตุไม่มีผล ทั้งที่ร่างกฎหมายยดังกล่าว บรรจุในวาระกว่า 2 ปีครึ่ง ครม. จะอ้างว่าไม่พร้อมหรือไม่ติดตามสืบหน้า ตนมองว่าเป็นไปไม่ได้ อีกทั้งตามกระบวนการเข้าสู่วิปรัฐบาล มีทุกหน่วยงานร่วมชี้แจงต่อร่างกฎหมาย



ขณะที่นายชวน กล่าวสนับสนุนพร้อมมองว่าตนเห็นด้วย โดยปกติเมื่อ ครม. เสนอว่าจะให้รับไปพิจารณาก่อนให้สภาฯลงมติรับหลักการ จะไม่อภิปรายมาก ก่อนจะลงมติว่าจะเห็นชอบส่งไปให้ครม. หรือไม่



"ข้อคิดเห็นนั้นเป็นประโยชน์ รัฐบาลอาจคิดว่า รัฐบาลหวังดีไม่ตัดสินกฎหมายให้ตกไป เปิดให้รับไปพิจารณา แต่มีอีกฝ่ายมองว่าถ่วง ผมคิดว่ารัฐบาลต้องทบทวน เพราะมีร่างกฎหมายอีกหลายฉบับที่เสนอโดยส.ส.” นายชวน กล่าว



แต่ในที่สุดมติของสภาฯ เสียงข้างมาก 219 เสียง ต่อ 118 เสียง งดออกเสียง 12 เสียง ส่งร่างพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ.... ให้ครม. พิจารณา ทั้งนี้ก่อนหน้านั้นมติของสภาฯ ได้เเห็นชอบให้ส่ง ร่างพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่...) พ.ศ.... เสนอโดยนายพิสิฐ ลี้อาธรรม ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ และคณะเสนอเช่นกัน

คุณอาจสนใจ

Related News