เลือกตั้งและการเมือง

ไทยร่วมประชุม ILO ย้ำจุดยืน ดูแลสิทธิและพัฒนาทักษะแรงงานอย่างเท่าเทียม

โดย kodchaporn_j

10 มิ.ย. 2565

43 views

กระทรวงแรงงาน ย้ำจุดยืนการดูแลแรงงานอย่างเท่าเทียม และพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้ดียิ่งขึ้น หลังเผชิญวิกฤตโควิด-19 บนเวทีประชุมองค์การแรงงานระหว่าง ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ พร้อมยืนยันจะร่วมกันช่วยเหลือประเทศที่พัฒนาน้อยสุด ตามพันธกิจของ ILO



องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO  จัดประชุมใหญ่ที่กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิสถือเป็นการประชุมใหญ่ครั้งแรกในรอบ 3 ปี นับจากมีการระบาดของโควิด-19 จนทำให้ต้องงดประชุมไป ขณะรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นตัวแทนรัฐบาลไทย ในฐานะ 1 ใน 3 ของไตรภาคี ย้ำจุดยืนเรื่องการดูแลสิทธิและการพัฒนาทักษะแรงงานอย่างเท่าเทียม หลังจากที่เผชิญวิกฤตโควิด-19 




การมุ่งช่วยเหลือประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด หรือ Least Develpoment Countries หรือ LDC เป็นหนึ่งในเป้าหมายขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานของประเทศสมาชิก ที่มีกว่า 187 ประเทศ และไทยเป็นหนึ่งในนั้น



การประชุมใหญ่ประจำปีสมัยที่ 110 นี้ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานของไทย กล่าวถ้อยแถลงย้ำว่าไม่เพียงร่วมมือกับ ILO เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเท่านั้น แต่ได้ร่วมกับอาเซียน ภูมิภาคเอเชียและแอฟริกา ทั้งด้านการประกันสังคม การพัฒนาทักษะอาชีพ และระบบมาตรฐานฝีมือแรงงาน



ที่สำคัญคือ การสร้างความยุติธรรม และเป็นธรรม เพื่อดูแลแรงงาน แม้ในภาวะที่เผชิญวิกฤตอย่างโควิด-19 ที่ผ่านมา ซึ่งไทยกระจายการตรวจ รักษา และวัคซีน รวมถึงช่วยเหลือแรงงานทุกสัญชาติ รวมกว่า 4 ล้านคน ที่ทำงานในประเทศไทยอย่างเท่าเทียม


หนึ่งในประเด็นที่ถูกนำเสนอในถ้อยแถลง ต่อประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมทั้งแบบออนไซด์และออนไลน์ คือโครงการ Factory Sandbox ที่พัฒนาเพื่อรับมือโรคระบาดและสร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิลและสาธารณสุข ทำให้กิจการหลายแห่งของไทยเดินหน้าต่อไปได้ในระหว่างที่ยังมีการควบคุมโรคระบาด



จนรักษาการจ้างงานไว้ได้ราว 4 แสนอัตรา และทำให้การส่งออกสินค้าเช่นส่วนประกอบการยานยนต์ หรือชิ้นส่วนอุตสาหกรรม สูงสุดในรอบ 30 ปี เพราะไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่แห่ง ที่การผลิตไม่ได้หยุดชะงักในช่วงดังกล่าว


การประชุมใหญ่ประจำปีขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือการประชุม ILC มีวารประจำซึ่งมีทั้งการรายงานของประธานและคณะทำงานรวมถึงแผนงบประมาณ



นอกจากนี้ ยังมีวาระจร เช่นการกำหนดมาตรฐานแรงงาน การฝึกงาน หรือประเด็นการบรรจุสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและมีสุขอนามัยที่ดี ในสิทธิขั้นพื้นฐานการทำงาน



รวมถึงการอภิปรายการสำรวจทั่วไปเมื่อปี 2563 แต่เพราะวิกฤตโควิด-19 ทำให้เลื่อนมาอภิปรายในการประชุมนี้คือสำรวจพบว่าแรงงานดูแล คือCare worker เข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่แรงงานควรได้รับ ซึ่งการสำรวจมุ่งไปที่บุคลการทางการพยาบาลและคำงานที่บ้าน เป็นแรงงานที่ตลาดแรงงานต้องการสูง และแนวโน้มขาดแคลน แต่ไม่ได้รับสภาพการทำงานที่เหมาะสม เช่นเวลาพักผ่อนน้อย



และชั่วโมงทำงานมากเกินไปเป็นต้น ส่วนคนงานทำงานบ้าน มักได้รับค่าจ้างต่ำ แรงเป็นแรงงานเปราะบาง หรือแรงานเด็กที่เสี่ยงจะถูกละเมิด โดยประเด็นการสำรวจนี้ จะเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ถูกยกมาอภิปรายในการประชุมครั้งนี้ด้วย

คุณอาจสนใจ

Related News