สังคม

แพทย์รามาฯ เตือน ไม่ควรซื้อยาต้านพิษสานซีเซียม-137 ที่ขายทั่วไปมาทานเอง

โดย kanyapak_w

22 มี.ค. 2566

70 views

แพทย์จากศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ยัน สารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ไม่แพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม เพราะปริมาณน้อยมาก ขณะที่ยาต้านพิษสารซีเซียม พรัสเซียนบลู อย.ได้เตรียมสำรองยาแล้ว ต้องใช้ตามแพทย์สั่ง ไม่ควรซื้อสารพรัสเซียนบลูที่ขายทั่วไปมาทานเอง





ในเวที สารซีเซียม 137 กับ ยาต้านพิษ พรัสเซียนบลู ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศ.นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยาและหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ ระบุว่า จนถึงขณะนี้ ยังมีความกังวลของประชาชน เรื่องการปนเปื้อนซีเซียม-137 ในร่างกายและสิ่งแวดล้อม จึงขอยืนยันว่า สารซีเซียมที่หายไป มีปริมาณน้อย และยังไม่มีการฟุ้งกระจายในโรงงานหลอมเหล็ก





นพ.วินัย กล่าวถึง ยาพลีสเซียนบลู ซึ่งเป็นยาหลักใช้รักษาผู้ที่มีสารซีเซียมในร่างกาย และเคยใช้ต้านพิษโลหะหนักเมื่อ 20 ปีก่อน ต่อมาไม่มีความจำเป็น จึงไม่ได้จัดซื้อไว้ แต่ขณะนี้ทาง อย. ได้เตรียมจัดหายาตัวนี้มาไว้สำรองแล้ว




ด้าน รศ.พญ. สาทริยา ตระกูลศรีชัย จากศูนย์พิษวิทยาและภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน กล่าวว่า การใช้ ยาพรัสเซียนบลู จะใช้เฉพาะผู้ที่พบมีสารซีเชียมในร่างกายปริมาณมาก ตัวยาจะช่วยขับสารซีเซียมออกมา แต่จะมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย ทำให้โพสแทสเซียมต่ำ ฟันเปลี่ยนสี จึงต้องใช้ตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น ไม่ควรหาซื้อสารพลัสเซียนบลูมาทานเอง เพราะที่ขายทั่วไป ใช้เพื่อกิจกรรมอื่นๆ อีกทั้ง ไม่ได้มีคุณภาพเทียบเท่าที่ผลิตเป็นยา





ด้าน ดร.กฤศณัฏฐ์ เชื่อมสามัคคี อ.ภาควิชารังสีวิทยา กล่าวว่า สารซีเซียมที่ปนเปื้อนครั้งนี้ มีปริมาณรังสี 41.4 mCi (มิลลิกุลี) จากการตรวจวัด โดยเครื่องมือ ซึ่งโรงไฟฟ้านำมาใช้ในกระบวนการตรวจวัดรังสีขี้เถา ของโรงงาน จึงใช้ปริมาณสารซีเซียมน้อย ประมาณ 0.000505 กรัม หรือหากเทียบ ก็จะน้อยกว่า ปริมาณสารซีเซียมที่ใช้ในโรงไฟฟ้า เชอร์โนบิล ถึง 57 ล้านเท่า ดังนั้นเมื่อปริมาณสารที่น้อยมาก การเกิดผลข้างเคียงจึงน้อยมากเช่นกัน



และยืนยันว่า ไม่ได้ปนเปื้อนต่อผลผลิตทางการเกษตรและอาหาร ในจังหวัดปราจีนบุรี






คุณอาจสนใจ

Related News