ต่างประเทศ

ผู้แทนสตรี 90 ประเทศ ลงพื้นที่เรียนรู้มหาลัยฯผู้หญิงในอิหร่าน สถานที่สำคัญของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์

โดย chiwatthanai_t

25 ม.ค. 2566

477 views

ผู้แทนสตรีจาก 90 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมสตรีผู้ทรงอิทธิพลของโลก ครั้งที่ 1 ที่ประเทศอิหร่าน ได้ลงพื้นที่เรียนรู้ด้านการศึกษาของอิหร่านที่มหาวิทยาลัยผู้หญิงที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในจำนวนนั้นมีนักศึกษาหญิงที่ได้รับทุนการศึกษาจากประเทศไทย ทำให้เห็นมุมมองอิหร่านในการให้ความสำคัญกับสิทธิสตรี


เมืองกุมสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ถือเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ของศาลนาอิสลามนิกายชีอะห์ เพราะเป็นที่ตั้งของศาสนสถานฮะรอม ของท่านหญิงฟาติมะฮ์ มะอ์ซูมะฮ์ น้องสาวของอิหม่ามที่ได้รับการนับถือจากชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ ท่านหญิงฟาติมะฮ์ จึงได้รับการนับถือในฐานะนักบุญ เพราะในศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ ผู้หญิงได้รับการเคารพในฐานะนักบุญหากเป็นญาติกับหนึ่งในอิหม่ามสิบสองของนิกายชีอะห์ ศาสนาสถานฮะรอมของท่านหญิงฟาติมะห์ จึงเป็นหนึ่งในสถานที่แสวงบุญของชาวมุสลิมนิยกาชีอะห์ ที่จะมาขอพรจากเธอทำให้ที่นี่เป็นหนึ่งในสถานที่ที่รัฐบาลอิหร่าน ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมสตรีผู้ทรงอิทธิพลของโลกครั้งที่ 1 ได้นำผู้แทนสตรีผู้ทรงอิทธิพลจาก 90 ประเทศมาเยือนศาสนาสถานของผู้หญิงที่ได้รับการเคารพแห่งนี้ และผู้หญิงที่นับถือศาสนาอิสลามต่างซาบซึ้งกับการได้มาขอพรในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งแต่ละปีจะมีผู้มาเยือนกว่า 20 ล้านคน


นอกจากนี้ กุม ยังเป็นเมืองแห่งการศึกษา เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยจำนวนมาก ในจำนวนนั้นมีมหาวิทยาลัยญามิอะตุชชะรอ มหาวิทยาลัยผู้หญิงที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวบรวมนักข่าวหญิงจากทั่วอิหร่าน และให้ทุนนักศึกษาหญิงนิกายชีอะห์จากต่างประเทศด้วย รวมถึงนักศึกษาหญิงจากประเทศไทยที่มีกว่า 100 คน ในจำนวนนั้น มีนางสาวซัยหนับ พิรุอาลี และนางสาวซะฮรอ พิรุอาลี นักศึกษาจากจังหวัดสตูลของไทย ได้ทุนเรียนและพักอยู่ในหอพักมหาวิทยาลัยที่นี่ บอกว่า นอกจากได้เรียนทางด้านศาสนาและปรัชญาแล้ว ทีนี่ยังสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วย


นอกจากนี้ ยังมีอดีตนักศึกษาต่างชาติที่เคยเรียนที่นี่ เช่น awatef alsalman หนึ่งในผู้เข้าร่วมประชุมสตรีผู้ทรงอิทธิพลของโลกจากประเทศอิรัก ก็เป็นศิษย์เก่าที่รู้สึกดีใจที่ได้กลับมาอีกครั้ง ซึ่งอะวาเตฟ เป็นทั้งนักแสดงที่มีชื่อเสียง นักสิทธิมนุษยชนที่ทำงานเพื่อเด็ก ผู้หญิงในอิรัก ซึ่งทราบกันดีว่าอิรักเผชิญกับภาวะสงครามมายาวนาน เธอจึงเชื่อว่าการศึกษาจะมีส่วนสำคัญเพิ่มพลังให้ผู้หญิงจัดการกับทุกปัญหาได้ ซึ่งเธอก็ชื่นชมที่อิหร่านให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เช่นเดียวกับมาเรียม ชาวเดนมาร์ก เชื้อสายอิรัก เพราะพ่อแม่เธอเป็นผู้ลี้ภัยจากอิรักว่า 30 ปีแล้วก็เชื่อเช่นนี้ด้วย


เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา อิหร่านเผชิญกับสถานการณ์ประท้วงภายในประเทศจากปัญหาการสวมฮิญาบของผู้หญิงอิหร่าน ซึ่งอิหร่านชี้แจงว่า การเสียชีวิตของ มาห์ซา อามินี ไม่ได้มาจากการใช้ความรุนแรงของตำรวจ แต่มาจากปัญหาสุขภาพของเธอเอง และการสวมฮิญาบก็เป็นหนึ่งในกฏหมายอิสลามที่ผ่านการทำประชามิตจากประชนตั้งแต่ยุคปฏิวัติเมื่อ 2522 และไม่ได้เคร่งครัดหรือมีโทษที่รุนแรง เห็นได้จากผู้หญิงอิหร่าน ก็ไม่ได้สวมผ้าคลุมมิดชิดตามท้องถนน ซึ่งนักศึกษาไทยและผู้เข้าร่วมประชุมก็ต่างเห็นตรงกันว่า ส่วนหนึ่งอาจมาจากสื่อภายนอกและเป็นสิ่งที่อิหร่านกำลังเรียนรู้ในการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างรุ่นสู่รุ่น


มุมมองของผู้หญิงที่เข้าร่วมประชุมสตรีผู้ทรงอิทธิพลของโลก เช่น อิรัก อัฟกานิสถาน จอร์แดน บัลเกเรีย อินเดีย ไอร์แลนด์ คองโก เคนยา เวเนซูเอลา ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เดนมาร์ก บราซิล อังกฤษ เยอรมัน อาร์เจนตินา คิวบา รวมถึงประเทศไทย ต่างเห็นตรงกันว่า โอกาสทางการศึกษาของผู้หญิงไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดต่างมีความสำคัญ โดยเฉพาะประเทศที่ยังเผชิญกับภาวะสงครามและความอดอยากหรือการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ยิ่งให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมบทบาทของผู้หญิงและคาดหวังจะเห็นความร่วมมือจากเวทีการประชุมสตรีผู้ทรงอิทธิพลของโลกที่อิหร่านครั้งนี้ ยกระดับความร่วมมือเพื่อผู้หญิงได้อย่างแท้จริง

คุณอาจสนใจ