เศรษฐกิจ

กกพ.ยันตรึงค่าไฟบ้าน ใช้กี่หน่วยก็ 4.72 บาท/หน่วย ได้ทุกครัวเรือน

โดย weerawit_c

17 ธ.ค. 2565

221 views

วานนี้ 16 ธ.ค. 65 สำนักงาน กกพ.ยืนยัน การตรึงค่าไฟบ้านไว้ที่ 4.72 บาท/หน่วย ได้ทุกครัวเรือน โดยนายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ กกพ.ได้ปรับปรุง ตัวเลขค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2566 ตามมติคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่ผ่านมาเพื่อลดผลกระทบต่อภาคประชาชนและ วันที่ 14 ธ.ค. ได้สรุปผลการคำนวณอัตราค่าไฟฟ้าตาม แนวทาง กพช.ส่งผลให้ค่า FT งวดใหม่แบ่ง เป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านที่อยู่ อาศัย ใช้ไฟไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน) จะมี อัตราค่า FT เรียกเก็บคงเดิมที่ 93.43 สตางค์ ) ต่อหน่วย หรือคิดเป็นค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (รวมค่าไฟฐาน) อยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย



ผู้ใช้ไฟประเภทอื่นๆ อาทิ กิจการขนาดเล็ก กิจการ ขนาดกลางกิจการขนาดใหญ่ โรงแรม โรงงาน อุตสาหกรรมผู้ใช้ไฟฟ้าชั่วคราว อาคารหอพัก อาคารสำนักงานที่อยู่ระหว่างก่อสร้างค่า FT จะอยู่ที่ 190.44 สต.ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานจะอยู่ที่ 5.69 บาท ต่อหน่วย หรือปรับขึ้น 20.5%ซึ่งต่อมาก็การตั้งคำถามจากสื่อมวลชนว่า แล้วกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านที่อยู่ อาศัย ใช้ไฟเกิน 500 หน่วยต่อเดือน จะคิดอย่างไร รวมถึงประเด็นประเภทผู้ใช้ไฟประเภทอื่นๆ ครอบคลุ่มส่วนไหนบ้าง



โดย นายคมกฤช ได้ให้ข้อมูลว่าในปัจจุบัน มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้า ออกเป็น 8 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย / ประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก / ประเภทที่ 3 กิจการขนาดกลาง / ประเภทที่ 4 กิจการขนาดใหญ่ / ประเภทที่ 5 กิจการเฉพาะอย่าง / ประเภทที่ 6 องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร / ประเภทที่ 7 สูบนํ้าเพื่อการเกษตร และ ประเภทที่ 8 ไฟฟ้าชั่วคราว โดยทั้ง 8 ประเภทนี้ ทาง กพช. ได้แบ่งใหม่เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ กลุ่ม กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้าน และ ผู้ใช้ไฟประเภทอื่นๆในการพานิช เพื่อเป็นไปตาม มติ กพช. ที่มุ่งเป้าเพื่อแบ่งเบาภาระประชาชนให้ได้มากที่สุด



โดยกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านนี้ หมายถึง ประชาชนที่ยื่นขอใช้ไฟฟ้าต่อการไฟฟ้า เป็นประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย (ทาว์นเฮ้าส์ ทาวน์โฮม ตึกแถว บ้านเดียว คอนโดมิเนียม อะไรก็มายื่นขอใช้ไฟที่เป็นประเภทที่ 1 ทั้งหมดนี้หมายถึง กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้าน) ซึ่งกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านจะใช้ไฟไม่เกิน 500 หรือเกิน 500 หน่วย ก็จะมีอัตราค่า FT เรียกเก็บคงเดิมที่ 93.43 สตางค์  หรือ (รวมค่าไฟฐาน) อยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย



ในส่วนของภาคธุรกิจ หมายถึง นิติบุคล หรือบุคคลที่เอาสังหาริมทรัพย์นั้นๆมายื่นขอใช่ไฟฟ้า ในประเภทที่ 2-8 ไม่ว่า สังหาริมทรัพย์จะเป็น ทาว์นเฮ้าส์ ทาวน์โฮม ตึกแถว บ้านเดียว คอนโดมิเนียม อะไรก็มายื่นขอใช้ไฟที่เป็นประเภทที่ 2-8  ทั้งหมดนี้หมายถึง กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจ และอาจรวมกลุ่มคนที่เอาตึกแถวมายื่นขอใช้ไฟประเภทธุรกิจ ที่ขายของข้างล่างอาศัยด้านบนด้วย จะมีอัตราค่า FT อยู่ที่ 190.44 สต.ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานจะอยู่ที่ 5.69 บาท ต่อหน่วย หรือปรับขึ้น 20.5%



นอกจากนี้มีการตั้งคำถามอีกว่าแล้วกลุ่มเกษตรกรที่มีการใช้ไฟฟ้าในการทำเกษตร หรือ ประเภทวัด จะมีอัตราค่าเอฟทีอยู่ที่เท่าไร่ นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ ย้ำว่าต้องยึดตามมติ กพช ว่าใช้อัตราค่าเอฟที  93.43 สตางค์  ใช้เฉพาะที่อยู่อาศัยเท่านั้นนอกเหลือจากนี้จะมีอัตราค่าเอฟทีอยู่ที่ 190.44 สต.ต่อหน่วย ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น นายเอมีพื้นที่ 1 ไร่ ภายในพื้นที่ก็มีบ้านและการทำการเกษตรด้วย แล้วไปยื่นขอใช้ไฟเป็นประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย ก็จะจ่ายอัตราค่าเอฟที  93.43 สตางค์ แต่ถ้านายเอกไปยืนขอใช้ไฟที่เป็นประเภทที่ 7  นั่นหมายถึง กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจ จะมีอัตราค่าเอฟทีอยู่ที่ 190.44 สต.ต่อหน่วย



ส่วนจะมีมาตรการออกมาช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ที่ใช้ไฟไม่เกิน 500 หน่วยหรือไม่ นายคมกฤช ระบุว่าต้องเป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรีว่าจะมีงบจาก ปตท.มาอุดหนุนไหมถ้าไม่มี ครม.อาจจะต้องจัดตั้งงบขึ้นมาเองเพื่อเป็นส่วนลดค่า Ft หากไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาช่วยเหลือประชาชนก็ต้องจ่ายค่า FT ตามที่ กพช.กำหนด



ขณะที่ในส่วนของภาคธุรกิจ ล่าสุด สภาอุตสาหรกรมแห่งประเทศไทย กำลังเร่งประสานงาน เพื่อเข้ายื่นหนังสือตรงถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ทบทวนมติ กกพ. และให้ตั้งคณะทำงานภาครัฐ-เอกชน มาหารือร่วมกันด่วนที่สุด ก่อนที่จะเริ่มเก็บค่าไฟฟ้าใหม่ในวันที่ 1 มกราคม 66 โดยยืนยันว่าค่าไฟฟ้าที่ขึ้นสูงถึง 5.69 บาท/หน่วย ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการอย่างรุนแรง และท้ายสุดจะถูกผลักภาระไปยังผู้บริโภค ผ่านการปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการในปีหน้า 5-12% ซึ่งก็จะกระทบต่อเงินเฟ้อ ขีดความสามารถทางการแข่งขัน



ขณะที่การประชุมบอร์ด ปตท.วันนี้ มีรายงานว่า ยังไม่มีมติกรณีพิเศษเรื่องเงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้า 6,000 ล้าน จากธุรกิจโรงแยกก๊าซ เพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้าในช่วงเดือน ม.ค-เม.ย. 2566 ตามคำขอของ กพช.


https://youtu.be/-3a6KL5K6QI

แท็กที่เกี่ยวข้อง  ตรึงค่าไฟบ้าน ,ตรึงค่าไฟ ,กกพ

คุณอาจสนใจ