เศรษฐกิจ

'สุพัฒนพงษ์' คาดราคาน้ำมันแพงยืดเยื้อ วอน ปชช.ประหยัดพลังงาน 10%

โดย weerawit_c

19 มิ.ย. 2565

68 views

วานนี้ (18 มิ.ย.) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการวิทยุ FM92.5 MHz ผ่านรายการ “คุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี” หัวข้อ “ทำไมน้ำมันแพงขึ้น รัฐช่วยอะไรอยู่บ้าง?” ว่า มองว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครนจะยังคงยืดเยื้อ กระทรวงพลังงานได้ติดตามใกล้ชิดมาโดยตลอด



ซึ่งปลายเดือน มิ.ย. 2565 จะมีการประชุม กลุ่มประเทศมหาอำนาจทางอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจของโลก 7 ประเทศ (G7) ถือเป็นผู้นำกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบกับพลังงาน จะหาทางออกให้กับประชากรทั้งโลก จึงต้องรอดูผลการประชุมดังกล่าวร่วมด้วย ดังนั้น สิ่งสำคัญคือความร่วมมือร่วมใจของประชาชน ผู้ประกอบการ และรับบาล ที่ต้องอยู่ด้วยความเห็นอกเห็นใจ ประคับประคองไปดูแลซึ่งกันและกัน ให้อยู่ในลักษณะที่พอรับกันได้



สำหรับสถานะพลังงานของประเทศไทย ปัจจุบันมีการนำเข้าน้ำมันดิบที่92% ส่วนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 35% เนื่องจากก๊าซฯ ในอ่าวไทยที่เคยมีมากเหลือราว 60% ซึ่งประเทศไทยยังเป็นประเทศที่พึ่งพาพลังงานมาก ส่วนหนึ่งของการเติบโตเศรษฐกิจไทยมาโดยตลอด



ประกอบกับช่วงต้นปี 2565 เกิดความขัดแย้งประเทศยูเครน-รัสเซีย ขยายกว้างกลายเป็นความขัดแย้งของขั้วอำนาจโลก 2 ขั้วเป็นเหตุทำให้เกิดวิกฤตอีกครั้งหนึ่ง คือความตระหนกของประชากรโลกกลัวว่าจะขาดแคลนพลังงานมีการซื้อน้ำมันเก็บราคาน้ำมันจึงทะยานขึ้นจนถึงปัจจุบันระดับ 118-120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

จึงเป็นเหตุผลว่าน้ำมันทำไมขึ้นราคาสูงขึ้น ส่วนก๊าซ จากราคาระดับ 10 ดอลลาร์ต่อหน่วยความร้อนมาอยู่ที่ 30 ดอลลาร์ต่อหน่วยความร้อน ที่มาจากปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้นทั่วโลก ถือเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤต ซึ่งราคาก๊าซหุงต้ม LPG ประเทศไทยราคาถูกกว่าประเทศเพื่อนบ้านเป็นเท่าตัว เพราะรัฐบาลใช้เงินอุดหนุนเดือนละ 1,500-2,000 ล้านบาท



ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบราคาระดับน้ำมันประเทศไทยกับเพื่อนบ้านใน 10 ประเทศอาเซียน ประเทศไทยอยู่ระดับ 7-8 เพราะรัฐบาลดูพยายามที่จะประคับประคองค่าครองชีพประชาชน โดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีผลกระทบวงกว้างต่อราคาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิต และการขนส่ง ส่วนน้ำมันเบนซิน



นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวถึงประเด็นการเก็บเงินจากโรงกลั่นน้ำมันว่า ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าค่าการกลั่นคือส่วนต่างของราคาน้ำมันดิบกับค่าเฉลี่ยของราคาผลิตภัณฑ์ที่โรงกลั่นขายได้ ซึ่งเมื่อนำเข้าน้ำมันดิบมาในประเทศเพื่อใช้ประโยชน์ตรงๆ จะทำไม่ได้เพราะคุณภาพจะแตกต่างกันไป ดังนั้นต้องแยกเป็นส่วนๆ แต่ละประเภทของน้ำมัน ทั้ง ดีเซล เบนซิน น้ำมันเตา เป็นต้น ที่คุณภาพบางอันสูงบางอันต่ำ เมื่อเฉลี่ยและหักลบกับน้ำมันดิบ จะเป็นค่าการกลั่นพื้นฐานที่ยังไม่สุทธิ เพราะยังไม่หักค่าใช้จ่าย อาทิ ค่าแรง ค่าเสื่อมราคา ค่าบำรุงรักษา ค่าดอกเบี้ย หรือแม้แต่ค่าเงิน เป็นต้น



ดังนั้น ตัวเลขของกระทรวงพลังงานที่มีเผยแพร่เป็นตัวเลขประมาณการของแต่ละโรงกลั่นที่มีค่ากันกลั่นที่แตกต่างกันไป ซึ่งหากคำนวณเป็นค่ากลางๆ ไว้ย้อนหลัง 10 ปี ช่วงก่อนโควิดค่ากันกลั่นอยู่ประมาณ 2 บาทต่อลิตร แต่เมื่อเกิดโควิด ลดลงเหลือไม่ถึง 1 บาท โรงกลั่นก็ไม่ได้กำไร เพราะยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งรัฐบาลไม่ได้ไปช่วยเหลือ เพราะเป็นธุรกิจเสรี ถือเป็นภาระของโรงกลั่นที่ต้องดูแลเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อกำลังการผลิตสูงขึ้น ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ราคาน้ำมันสูงขึ้น สิ่งที่เป็นประเด็นคือคนบางกลุ่มมีการคำนวณตัวเลขระดับ 8-9 บาทต่อลิตรไม่ทราบว่าใช้วิธีการคำนวณแบบไหน ซึ่งกระทรวงพลังงานได้คำนวณค่าเฉลี่ย 6 เดือนของปี 2565 อยู่ที่ 3 บาทต่อลิตร จึงอยากให้ประชาชนเข้าใจว่าสถานการณ์ไม่ได้เป็นลักษณะที่โรงกลั่นมาปล้นหรือรัฐบาลไม่ได้กำกับดูแล



ทั้งนี้ ตลอดระยะ 2 ปีที่เกิดโควิด รัฐบาลได้เข้าไปดูแลด้านราคาพลังงานให้กับประชาชน 206,903 ล้านบาท อาทิ ตรึงราคาดีเซลจากลิตรละ 30 บาท มาถึงลิตรละ 35 บาทปัจจุบันราคาจริงอยู่ที่ลิตรละ 45 บาท ใช้เงินเดือนละ 20,000 ล้านบาท ส่งผลให้สถานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง คาดว่าสิ้นเดือน มิ.ย. 2565 จะติดลบที่ 100,000 ล้านบาท รวมถึงพยุงราคาก๊าซหุงต้ม ค่าไฟฟ้าที่ล้วนแล้วแต่มีราคาสูงขึ้น แต่รัฐบาลได้ประคับประคองค่อยๆ ปรับขึ้น และการคงราคาก๊าซ NGV เพื่อให้กระทบกับประชาชนน้อยที่สุด



ส่วนเรื่องค่าการกลั่น ซึ่งกระทรวงพลังงานได้คำนวณค่าเฉลี่ย 6 เดือนของปี 2565 อยู่ที่ 3 บาทต่อลิตร งงกับตัวเลข 8 บาท ไม่รูเคิดวิธีไหน



ประชาชนมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงาน เพื่อผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ ซึ่งหากประหยัดพลังงานไฟฟ้าและน้ำมัน 10% จะช่วยประหยัดเงินรวมกันกว่า 200,000 ล้านบาท เพียง 1 ปี จะเท่ากับเงินที่รัฐบาลสนับสนุนไป 2 ปี ถือเป็นความคุ้มค่าที่น่าทำอยากจะให้เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน โดยส่วนราชการของกระทรวงพลังงานได้ดำเนินการประหยัดพลังงานตั้งเป้าหมายลดลงที่ 20%


รับชมทางยูทูบที่ :  https://youtu.be/qVWrEVJnRbk

คุณอาจสนใจ