เศรษฐกิจ

ครม.ยังไม่พิจารณางบ 8,000 ล้าน ช่วยค่าไฟแพง - ผู้ผลิตเตรียมขึ้นราคาสินค้า 10% หลังต้นทุนค่าไฟพุ่ง

โดย petchpawee_k

31 ส.ค. 2565

17 views

หลังจากที่มีการจับตาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 30 ส.ค.2565 ว่า กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกำกับดูแลการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะเสนอของบประมาณ 8,000 ล้านบาท ตามที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติเพื่อนำมาช่วยเหลือ 2 กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านที่อยู่อาศัย ให้ทันการใช้จ่ายสำหรับการลดค่าไฟฟ้าในเดือน ก.ย.-ธ.ค.นี้หรือไม่


ผลปรากฏว่าา ครม.ไม่มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าว เนื่องจากได้มีการหารือกันนอกรอบระหว่างกระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย และสำนักงบประมาณว่า งบกลาง ปี 2565 รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นนั้นเหลืออยู่เพียง 10,000 ล้านบาท และมีคำเสนอขอใช้มาแล้วกว่า 5,000 ล้านบาท และส่วนที่เหลือมีความจำเป็นต้องสำรองไว้ในกรณีเกิดภัยพิบัติเร่งด่วน จึงเหลือวงเงินไม่เพียงพอสำหรับมาช่วยลดค่าไฟฟ้า 8,000 ล้านบาทได้จึงมีการเสนอแนวทางการเยียวยาค่าไฟให้ประชาชนจะต้องไปใช้งบกลางปี 2566 ที่จะเริ่มในเดือน ต.ค-ธ.ค.เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยเว้นการช่วยเหลือในเดือน ก.ย.ไปก่อน

--------------------------------------------------------------

นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 20 ในเดือนสิงหาคม 2565 ภายใต้หัวข้อ “วิกฤตค่าไฟฟ้าแพง กระทบอุตสาหกรรมแค่ไหน” พบว่า จากมติสำนักคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ที่ได้เห็นชอบแนวทางการปรับขึ้นอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) งวดเดือนกันยายน – ธันวาคม 2565 มาอยู่ที่ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 68.66 สตางค์ต่อหน่วย จากค่า Ft งวดเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2565 ที่เก็บอยู่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลทำให้ค่าไฟฟ้าโดยรวมปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.72 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นกว่า 18% จากค่าไฟฟ้างวดเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2565 ที่เก็บอยู่ 4 บาทต่อหน่วย นั้น


จากผลสำรวจ FTI Poll พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ มีความกังวลว่าการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูงเกินไปในครั้งเดียว จะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนและต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในส่วนของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจะถูกส่งต่อไปที่ราคาสินค้าและวัตถุดิบตามต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน เมื่อเทียบกับประเทศเวียดนามที่ดำเนินนโยบายในการคงอัตราค่าไฟฟ้าที่ 2.8 บาทต่อหน่วย ตลอดปี 2565


จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 215 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 20 จำนวน 6 คำถาม ดังนี้


1. ต้นทุนค่าไฟฟ้าของอุตสาหกรรมคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นของต้นทุนการผลิตทั้งหมด

อันดับที่ 1 : 10 - 30% = 54.9%

อันดับที่ 2 : น้อยกว่า 10% = 27.4%

อันดับที่ 3 : 30 - 50% =13.0%

อันดับที่ 4 : มากกว่า 50% = 4.7%



2. การปรับอัตราค่าไฟฟ้าฝันแปรอัตโนมัติ (Ft) จะส่งผลกระทบต่อราคาขายสินค้าและบริการอย่างไร


อันดับที่ 1 : ปรับราคาสินค้าและบริการขึ้น ไม่เกิน 10%  44.2%

อันดับที่ 2 : ราคาสินค้าและบริการคงที่ 27.4%

อันดับที่ 3 : ปรับราคาสินค้าและบริการขึ้น ไม่เกิน 20% 22.3%

อันดับที่ 4 : ปรับราคาสินค้าและบริการขึ้น ไม่เกิน 30% 6.1%


รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/j0_hXpUJs1k

คุณอาจสนใจ

Related News