เศรษฐกิจ

สำรวจความเห็นปชช. กับค่ารฟฟ.สีเขียว 59 บาท ตลอดสาย 'ชัชชาติ' แจงยังไม่สรุป พร้อมหาจุดที่เป็นธรรม

โดย panwilai_c

29 มิ.ย. 2565

25 views

ความชัดเจนเรื่องการกำหนดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่อยู่ระหว่างการกำหนดราคาที่เหมาะสมกับผู้ใช้บริการ โดยวันนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับข้อเสนอสภาองค์กรของผู้บริโภค ทบทวนค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ยืนยันราคา 59 บาท เป็นเพียงข้อเสนอมาตรการระยะสั้น ที่ยังไม่สรุป ขอหารือกับทุกฝ่ายเพื่อหาราคาที่เป็นธรรม



รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายจากสถานีห้าแยกลาดพร้าวถึงสถานีคูคต ยังให้บริการฟรี ทำให้เป็นทางเลือกหนึ่งของประชาชนที่จะประหยัดการเดินทาง เนื่องด้วยภาวะเศรษฐกิจ ที่อาจต้องนั่งรถเมล์ และค่าโดยสารประเภทอื่นรวมกันก็มีราคาสูง ประชาชนจึงเห็นด้วยที่จะให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าราคาที่เป็นธรรม ถ้ากำหนด 59 บาท หรือ 44 บาท ตลอดสาย จากคูตต-สำโรง ก็ต้องไม่กำหนดราคาต่อช่วงที่สูงเกินไป และอยากให้นำตั๋วเดือนกลับมาใช้ด้วย เพราะทางเลือกของประชาชนมีน้อย



ขณะที่ผู้บริโภครายหนึ่ง บ้านอยู่ลำลูกกา ต้องมาทำงานย่านพระราม 9 หากเธอเรียกวินมอไซค์จากบ้าน 20 บาท จ่ายค่ารถเมล์มาสถานทีคูคต 11 บาท ขึ้นรถไฟฟ้าฟรี และต่อรถไฟฟ้าใต้ดิน อีก 28 บาท แต่เธอใช้เวลาเกือบ 4 ชม.ทำให้ต้องเลือกใช้แทกซี่มาส่งสถานีรถไฟฟ้า ทำให้เธอต้องเสียค่าเดินทางไปกลับวันละไม่ต่ำกว่า 400 บาท



ผลกะทบต่อผู้บริโภค เป็นเหตุผลที่สภาองค์กรของผู้บริโภค คัดค้านราคารถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุดที่ 59 บาท ตามที่ กทม.เสนอ โดยนายชัชชาติ ยืนยันว่า ยังไม่สรุปราคาที่แน่ชัด แต่จำเป็นต้องคิดราคาในเส้นทางส่วนต่อขยายที่ยังฟรี โดยจะนำข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค ไปพิจารณา ทั้งเรื่องราคาที่ 44 บาท ตลอดสาย ที่ยอมรับเป็นราคาสูงสุดของเอกชน ที่กทม.ก็ต้องคิดอย่างรอบคอบ ทั้งในช่วงก่อนและหลังสิ้นสุดสัมปทาน 2572



สภาองค์กรของผู้บริโภคสนับสนุนกรุงเทพมหานครไม่ต่อสัญญาสัมปทาน และใช้วิธีการประมูลจ้างการเดินรถ หรือทำสัญญาร่วมทุน (PPP) กับเอกชน โดยแยกเป็น 2 สัญญา คือ สัญญาเดินรถ และสัญญาหาประโยชน์ พร้อมเสนอว่า หลังหมดสัญญาสัมปทาน ให้ใช้ราคา 25 บาท ซึ่งสภาองค์กรของผู้บริโภคเรามั่นใจว่าทำได้จริง โดยราคาที่ใช้ก่อนหมดสัญญาก็ขอให้คุ้มครองบริษัทบีทีเอสโดยใช้ราคา 44 บาท และ ขอเปิดเผยร่างสัญญาสัมปทานของกทม. ที่กำหนดราคา 65 บาท



ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะไปหารือกับทุกหน่วยงาน เพื่อจัดการปัญหาที่เรื้อรังรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยจะหารือกับทางบริษัทกรุงเทพธนาคม เพื่อบริหารจัดการ ให้สามารถมีค่าโดยสารที่เป็นธรรม

คุณอาจสนใจ