เตือนภัย!! "ไส้กรอกไม่มียี่ห้อ" ทำเด็กป่วย อันตรายถึงชีวิต พบแล้วใน 5 จังหวัด

สังคม

เตือนภัย!! "ไส้กรอกไม่มียี่ห้อ" ทำเด็กป่วย อันตรายถึงชีวิต พบแล้วใน 5 จังหวัด

โดย pattraporn_a

28 ม.ค. 2565

263 views

ดรามาเรื่องเด็กกินไส้กรอกที่ไม่มียี่ห้อ ไม่มีฉลาก แล้วเกิดภาวะขาดออกซิเจน จนทำให้ศูนย์พิษวิทยา รามาธิบดี ออกประกาศ เตือนอันตรายของ ‘ไส้กรอก’


ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ เตือนภัย!!!! ขอเรียกว่าเวรไส้กรอกร้าย อันตรายมากค่ะ ช่วงนี้พ่อแม่ผู้ปกครองต้องระวังมากๆนะคะ เด็กพี่น้อง 2 คน มา ER ด้วยอาการปากเขียวคล้ำ (central cyanosis) O2 80% อาเจียน ซึมสับสน หลังทานไส้กรอก1-2แท่ง ไม่มียี่ห้อ 2ชั่วโมง PTA ไม่มีโรคประจำตัวอื่น ให้ O2 therapy on ETT ไม่response เลือดสีดำ chocolate เจาะ ABG มีO2 saturation gap ให้นึกถึงภาวะ “ Methemoglobinemia “


ขอบคุณทีมหมอพยาบาล ER รพ.แมคคอร์มิค ทุกคนไวมาก ขอบคุณพี่ทิพย์ มากๆ ที่ขับรถมากจากบ้านมาช่วยกันช่วยเหลือคนไข้ เพราะมาทีเดียว pack คู่ พร้อมนั่งรถรีเฟอร์กันคนละคันไปส่งด้วยอีก ขอบคุณ อจ.พี่เติร์ก ศูนย์พิษรามา ที่ให้คำปรึกษาน้องตลอดหลายเคสๆ จนอยากเรียน toxico เพิ่มอีกบอร์ด 55 เพิ่งมาเห็นข่าวเช้านี้ว่ากำลังระบาดทั่วไทย จนออกประกาศ warning แล้ว สุดท้ายขอบคุณทีมสวนดอก ที่รับเคสไวมากก คนไข้ทั้ง2 ปลอดภัยแล้วอยากแชร์เคสเผื่อใครเจอและผู้ปกครองจะได้ระมัดระวังกันค่ะ


ต่อมาศูนย์พิษวิทยา รามาธิบดี โพสต์เฟซบุ๊กประการเตือน ‘ไส้กรอก’ ที่ไม่รู้ที่มาที่ไป ระบุข้อความว่า ALERT เตือนเฝ้าระวัง!! อย่ากินไส้กรอกจากแหล่งที่ไม่แน่ชัดหรือไม่น่าเชื่อถือ  สัปดาห์ที่ผ่านมี เด็กป่วยด้วยภาวะ เมทฮีโมโกลบิน (Methemoglobin) จำนวน 6 ราย ใน 5 จังหวัด (เชียงใหม่ 2 ราย, เพชรบุรี 1 ราย, สระบุรี 1 ราย, ตรัง 1 ราย, กาญจนบุรี 1 ราย) โดยทั้งหกรายมีประวัติกิน ไส้กรอกซึ่งไม่มียี่ห้อ ไม่มีเอกสารกำกับ


อาการของผู้ป่วยคือ คลื่นไว้ เวียนศีรษะ เหนื่อย หายใจเร็ว เขียว ระดับออกซิเจนที่วัดปลายนิ้วต่ำ ในขณะนี้ยังไม่มีรายใดที่รุนแรงถึงแก่ชีวิต  อาการของผู้ป่วยคือ คลื่นไว้ เวียนศีรษะ เหนื่อย หายใจเร็ว เขียว ระดับออกซิเจนที่วัดปลายนิ้วต่ำ ในขณะนี้ยังไม่มีรายใดที่รุนแรงถึงแก่ชีวิต ผู้ป่วยจะมีอาการของการขาดออกซิเจนเช่น มึนศีรษะ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจเร็ว เขียว หากรุนแรงจะมีอาการหอบเหนื่อยมาก เลือดเป็นกรด ความดันโลหิตต่ำและเสียชีวิตได้


ด้าน อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ อธิบายในการผลิตไส้กรอกที่ไม่ได้มาตรฐานอาจมีการเติมสารไนเตรท-ไนไตรท เยอะกว่าปกติ หรืออาจผสมไม่ดีทำให้มีบางส่วนมีปริมาณสารสูงเกินกว่าที่ควรได้






ชมผ่านยูทูบ : https://youtu.be/xfn-16tdvPQ

คุณอาจสนใจ