เมื่อโควิด-19 ทำให้คนไม่ไปพิพิธภัณฑ์ ‘หอศิลป์ ม.ศิลปากร’ เปิดคลังงานศิลปะไทย ผ่าน Google Arts & Culture ส่งสู่สายตาชาวโลก

ไลฟ์สไตล์

เมื่อโควิด-19 ทำให้คนไม่ไปพิพิธภัณฑ์ ‘หอศิลป์ ม.ศิลปากร’ เปิดคลังงานศิลปะไทย ผ่าน Google Arts & Culture ส่งสู่สายตาชาวโลก

โดย nicharee_m

28 ม.ค. 2565

91 views

ครั้งแรกของไทย! หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดคลังงานศิลปะไทย ผ่าน Google Arts & Culture สู่สายตาชาวโลก ทลายข้อจำกัดโควิด-19 ที่ทำให้คนไม่เข้าพิพิธภัณฑ์




ในยุค New Normal ทำให้พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั่วโลก เกิดปรากฏการณ์ผู้ชมเข้าดูน้อยลง และหันไปสนใจวิถีใหม่ ด้วยระบบออนไลน์ โอกาสที่ผู้คนเข้าถึงงานศิลปะจึงเป็นเรื่องที่ยากขึ้น

หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ Google Arts & Culture เปิดนิทรรศการ “ศิลปะไทยใกล้อีกนิด” นำเสนอภาพผลงานศิลปะกว่า 500 ชิ้นจากฝีมือของศิลปินไทย 323 คนตลอดช่วงระยะเวลากว่า 7 ทศวรรษ ผ่านเว็บไซต์ https://artsandculture.google.com/partner/art-centre-silpakorn-university?fbclid=IwAR1woIDCcn0-uiRdufjDuiNX5STmKaY56O1ATpms4nRqYkewShgA4JugYqg และแอปพลิเคชัน ในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์




โดยเปิดประสบการณ์ ให้ทุกคนได้ร่วมเพลิดเพลินไปกับการสำรวจศิลปะ ประวัติศาสตร์ และสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ด้วยมุมมองใหม่ ผ่าน Art Camera ระดับ Gigapixel ที่มีความละเอียดสูงเป็นพิเศษ ช่วยถ่ายทอดความละเอียดของขนแปรง ลายเส้น ผิวสัมผัส ที่ศิลปินได้บรรจงลงบนงานศิลปกรรม ผ่านแพลตฟอร์มระบบดิจิทัล เพื่อให้ทุกคนเข้าถึง เยี่ยมชม เรียนรู้ ดื่มด่ำ ไปกับงานศิลปะ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีข้อจำกัดในการเดินทาง




นับเป็นโครงการแปลงภาพจิตรกรรมเป็นภาพดิจิทัลครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่ Google Arts & Culture เคยทำในเอเชีย และเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดโครงการหนึ่งในโลก

อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2557 กล่าวว่า “ถือเป็นโอกาสที่ดีมากที่งานศิลปะของไทยจะได้มีโอกาสเผยแพร่สู่สายตาของผู้ที่สนใจทั่วโลก ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ศิลปินและงานศิลปะเป็นที่รู้จักในระดับสากล รวมถึงความพิเศษที่หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เป็นหน่วยงานพันธมิตรแรกในไทยที่ได้นำ Google Art Camera มาบันทึกภาพด้วยตนเอง

ทำให้เราได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ของงานศิลปะเหล่านั้น ซึ่งนับเป็นนิมิตหมายอันดีที่ทาง Google Arts & Culture ได้เห็นถึงความสำคัญของผลงานศิลปะของไทย รวมทั้งบทบาทของหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จนนำไปสู่ความร่วมมือในครั้งนี้”

นิทรรศการออนไลน์แม้จะสามารถเข้าถึงได้ง่าย เข้าชมได้ทุกที่ ทุกเวลา แต่สิ่งที่ทำไม่ได้ คือการเข้าถึงประสบการณ์ และแรงบันดาลใจจากการเสพงานผ่านสายตาจริง

คุณอาจสนใจ