'กรณ์' ชี้ของแพง เป็นปัญหาเศรษฐกิจที่น่ากลัวที่สุด เกิดขึ้นแล้วแก้ยากที่สุด

เศรษฐกิจ

'กรณ์' ชี้ของแพง เป็นปัญหาเศรษฐกิจที่น่ากลัวที่สุด เกิดขึ้นแล้วแก้ยากที่สุด

โดย passamon_a

16 ม.ค. 2565

34 views

วันที่ 15 ม.ค.65 นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงปัญหาสินค้าหลายชนิดที่มีราคาสูงขึ้น ว่า ของแพงเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่น่ากลัวที่สุด เพราะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบกับประชาชนในวงกว้าง กระทบคนจนมากกว่าคนรวย และเป็นปัญหาที่เมื่อปล่อยให้เกิดขึ้นแล้วแก้ยากที่สุด

การที่รัฐบาล โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ พลาดก่อนหน้านี้คือการประเมินสถานการณ์ อย่างเรื่องหมู มีนักวิชาการเตือนมาเป็นปี แต่รัฐบาลไม่ฟังและอาจจะพยายามปกปิดข้อเท็จจริง กว่าที่รัฐบาลจะรับรู้และยอมรับว่ามีปัญหาก็สายไปแล้ว พอคนเริ่มเชื่อว่าราคาสินค้าจะต้องแพงขึ้น นั่นคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้าวของแพงขึ้นจริง และจะแพงขึ้นอย่างยกแผง เมื่อปรับราคาขึ้นแล้วทุกคนเข้าใจในสัจธรรมว่าการปรับลงจะยากมาก วันไหนที่ราคาหมูหน้าเขียงปรับลดลงมา ใช่ว่าราคาข้าวหมูแดงจะปรับกลับลงมาด้วย

ด้านกระทรวงพาณิชย์ รายงานข่าว ระบุว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ทั่วโลก ติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าและค่าครองชีพ รวมถึงการนำเข้าและส่งออกสินค้า พบว่า หลายประเทศเจอภาวะราคาสินค้าและค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น ต่อเนื่องจากช่วง 1 ปีที่ผ่านมา โดยตลาดสำคัญที่ทูตพาณิชย์รายงาน ได้แก่

สหรัฐ พบว่า ราคาสินค้าเดือนธันวาคม 2564 พุ่งสูงขึ้น 7% เทียบกับธันวาคม 25 3 นับว่าเพิ่มสูงที่สุดในรอบเกือบ 40 ปี โดยใน 12 เดือนที่ผ่านมา ราคาสินค้ากลุ่มพลังงานสูงขึ้นเฉลี่ย 29.3% อาหารเพิ่มขึ้น 6.3% และสินค้าอื่น 5.5% ส่งผลต่อร้านอาหาร ธุรกิจบริการ เครื่องนุ่งห่ม เฟอริเจอร์ เป็นต้น

ตลาดแคนาดา พบว่า เผชิญกับผลกระทบของปัญหาเงินเฟ้อที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่งสัญญาณให้ค่าครองชีพ ใน แคนาดาเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่กลางปี 2564 โดยอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือน พฤศจิกายน 2564 อยู่ที่ 4.7 ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2565 ห้างค้าปลีกทยอยปรับเพิ่มราคาสินค้า เพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง

ตลาด เคนยา พบว่า ค่าครองชีพในเคนยาปรับตัวสูงขึ้นประมาณร้อยละ 30 จากปี 2563 โดยราคาสินค้าอาหารทุกรายการสำคัญ เช่น ขนมปัง น้ำมันพืช ผักและผลไม้ ปรับเพิ่มขึ้น 15-25% จากปีก่อน

ตลาดอิสราเอล พบว่า อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยราคาขนส่ง เพิ่มขึ้น 3.4% เครื่องตกแต่ง 7.8% อาหารไม่รวมผักและผลไม้ 2.8% การศึกษา 3.2% และที่อยู่อาศัย 2.6%

ตลาด ชิลี พบว่า อัตราเงินเฟ้อ ธันวาคม 2564 อยู่ที่ 7.2% ถือว่าเป็นตัวเลขสูงที่สุดในรอบ 13 ปี โดยราคาสินค้าส่วนใหญ่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ยกเว้นหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า

ตลาดไต้หวัน พบว่า ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภค64 ตลอดทั้งปี เพิ่มขึ้น 1.96% ทำสถิติสูงสุดในรอบ 13 ปี โดยเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้นถึง 2.62% โดยเฉพาะค่าอาหารที่รับประทานนอกบ้าน เพิ่มขึ้น 2.39% สูงสุดในรอบ 81 เดือน อาหารประเภทหม้อไฟ และอาหารเช้าสไตล์จีนเพิ่มขึ้นมากกว่า 4% สำหรับหมวดอื่นๆ เพิ่มขึ้นประมาณ 2-3%

รายงานจากกระทรวงพาณิชย์ ระบุต่อว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นได้รับแรงกดดัน จาก 1.วิกฤตห่วงโซ่อุปทานโลก เกิดความล่าช้าและติดขัดตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะภาคการขนส่งและ โลจิสติกส์ ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัญหาต่อเนื่องไปตลอดปีนี้ 2.การขาดแคลนแรงงาน 3.การขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง semiconductors(สานกึ่งตัวนำ) 4.การขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดค้าปลีก และ 5.สภาวะอากาศที่ผิดปกติในหลายพื้นที่


รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/dQvexLb9TDQ


คุณอาจสนใจ

Related News