เท่าไหร่ก็ขาย! ร้านกาแฟบนดอยทำด้วยใจ ชิมเสร็จแล้วแต่จะจ่าย

ไลฟ์สไตล์

เท่าไหร่ก็ขาย! ร้านกาแฟบนดอยทำด้วยใจ ชิมเสร็จแล้วแต่จะจ่าย

โดย nicharee_m

6 ม.ค. 2565

2.2K views

พามาชิมกาแฟเส้นทางไปยังอำเภอเวียงแหง เลาวูประตูสู่เวียงแหง เป็นร้านกาแฟเล็กๆ ริมถนนบนดอยสูง ธรรมชาติสวยงาม ชื่อว่า ‘อะกิปุ’ ที่แปลว่า กาแฟที่พวกเราทุกคนทำด้วยใจ จิบกาแฟเมื่อลิ้มลองรสชาติแล้วค่อยจ่ายเงิน โดยมีกลุ่มจิตอาสากาแฟทำมือ ก็มาร่วมชิมรสชาติของกาแฟเลาวู




นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบรสชาติกาแฟ และชมบรรยากาศธรรมชาติที่สวยงาม ต้องผ่านหมู่บ้านที่ติดบนผาข้างถนนว่า “เลาวูประตูสู่เวียงแหง” เมื่อมาถึงก็ต้องพากันมาแวะที่ร้านกาแฟบ้านของชาวเขาเผ่าลีซู ที่บ้านเลาวู หมู่ 11 ตำบลเมืองแหง

ร้านกาแฟร้านนี้ เป็นร้านกาแฟเล็กๆ ที่ชื่อว่า “อะกิปุ” แปลว่า กาแฟที่พวกเราทุกคนทำด้วยใจ ตั้งอยู่ริมถนนเส้นทางจะเข้าสู่อำเภอเวียงแหง โดยที่ร้านจะมีที่มีวัยรุ่นหนุ่มสาวชาวลีซูเป็นผู้ปรุงแต่งกาแฟ นักท่องเที่ยวที่มาแวะชิมกาแฟที่ร้านแห่งนี้ จะกำหนดราคาของกาแฟด้วยตนเอง หรือก็คือแล้วแต่จะจ่ายค่าดื่มกาแฟ ซึ่งบรรยากาศของทางร้านก็จัดร้านแบบรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยใช้วัสดุธรรมชาติ ลดการใช้พลาสติก รอบๆ ร้านมีจุดนั่งชมวิวสวยงาม




ผู้ใหญ่บ้านเลาวู บอกว่า ร้านนี้เป็นร้านกาแฟของชาวเขาเผ่าลีซู เป็นร้านกาแฟของอะกิปุ ซึ่งอะกิปุจะมีโฮมสเตย์ อะกิปุ ,แคมป์ปิ้ง อะกิปุ ,ร้านกาแฟ อะกิปุ เป็นวิสาหกิจของชาวบ้านร่วมกันทำ โดยร้านกาแฟเป็นอาชีพเสริมให้กับชาวบ้าน ส่วนการที่ราคาการขายของกาแฟ ก็เป็นกลยุทธของการขายของคนรุ่นใหม่ ซึ่งราคากาแฟก็อยู่ที่ระหว่างแก้วละ 30-40-50 บาท แต่ร้านกาแฟร้านนี้ไม่ได้ตั้งราคา คุณดื่มๆ แล้วชิม แล้วแต่ความพอใจที่จะจ่ายให้ จะจ่ายเงินใส่กล่องที่ร้านเท่าไหร่ก็ได้ ซึ่งอยากให้นักท่องเที่ยวได้ชิมกาแฟของชาวเลาวูที่อำเภอเวียงแหง ปลูกต้นสูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 1,130 เมตร เป็นกาแฟที่พระองค์รัชกาลที่ 9 สนับสนุนทดแทนการปลูกฝิ่น เป็นกาแฟที่เป็นอาชีพของชาวบ้านที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน

บรรยากาศที่ร้านอะกิปุ ก็มีกลุ่มรถจักรยานยนต์คลาสิกเชียงใหม่ จากจิตอาสากลุ่มกาแฟทำมือ โดยนายดิสพงษ์ สุวรรณกิจ หรือที่เรียกกันในกลุ่มกาแฟทำมือว่า “กาแฟผีบ้า” ก็เดินทางไปมาเที่ยวในอำเภอเวียงแหงและร่วมทำกาแฟทำมือโดยให้กับนักท่องเที่ยวได้ชิม พร้อมก็ได้นำกาแฟของชาวเขาเผ่าเลาวู ไปลิ้มลองรสชาติ เป็นการแลกเปลี่ยนการปลูกกาแฟ ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะปลูกกาแฟไม่เหมือนกัน รสชาติที่ได้ออกมาก็จะไม่เหมือนกันเช่นกัน



คุณอาจสนใจ

Related News