ราคาน้ำมันสิงคโปร์ปรับลด ลุ้นไทยจะลดไหม? 'สุพัฒนพงษ์' แจงไม่ยกเลิกน้ำมันผสม

เศรษฐกิจ

ราคาน้ำมันสิงคโปร์ปรับลด ลุ้นไทยจะลดไหม? 'สุพัฒนพงษ์' แจงไม่ยกเลิกน้ำมันผสม

โดย thichaphat_d

9 พ.ย. 2564

103 views

ราคาน้ำมันโลกปรับขึ้นเล็กน้อย จากการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวโดยเฉพาะที่สหรัฐจะทำให้ความต้องการน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น


นิวยอร์ค - โดยราคาน้ำมันดิบเบาที่ตลาดไนเม็กซ์ ปรับขึ้นไปเล็กน้อยที่ 68 เซนต์ หรือ +0.84% ไปปิดที่ 81.85 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลล์


ลอนดอน - ส่วนราคาน้ำมันดิบที่ตลาดเบรนท์ ลอนดอน ปรับขึ้น 71 เซนต์ หรือ +0.83% ไปปิดที่ 83.44 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลล์


สิงคโปร์ - ส่วนราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่สิงคโปร์ (Refined Oil) ปรับลดลง 1.46 ดอลลาร์สหรัฐ ลงมาอยู่ที่ 92.12 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลล์ จากเดิมที่ 93.58 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลล์


ส่วนสถานการณ์ในไทย นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภา ช่วงกระทู้ถาม ถึงปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซหุงต้มมีราคาแพง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชน โดยปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น มาจาก 2 ปัจจัย คือ ราคาน้ำมันตลาดโลกที่สูงขึ้น และ อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท


โดยปัจจัยทั้ง 2 อย่างเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ที่คลี่คลายจากภาวะโควิด-19 และในภูมิภาคตะวันตกที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว อากาศหนาว ต้องการพลังงาน ทำให้ราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นมาก


สำหรับการแก้ปัญหาโดย คณะกรรมการกรรมการนโยบายและแผนพลังงาน (กบง.) มีมติตั้งแต่เดือนตุลาคม เพื่อรักษาระดับให้น้ำมันดีเซลราคาไม่เกินลิตรละ 30 บาท ส่วนที่เกินใช้กลไกลของกองทุนน้ำมันนอกจากนั้นได้ขอความร่วมมือให้ผู้ขายลดค่าการตลาดลง แม้ว่าการกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันจะเป็นไปตามกลไกตลาดเสรีก็ตาม


ส่วนแนวโน้มจะลดปริมาณสัดส่วนผสม หรือยกเลิกการผสมเชื้อเพลิงชีวภาพในเน้ำมันเชื้อเพลิงหรือไม่ ทั้งนี้การผสมดังกล่าวเป็นนโยบายรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมพลังงานสะอาด ลดฝุ่นละออง ช่วยรักษาเสถียรภาพพืชผลเกษตร ให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคง รวมถึงลดการพึ่งพานำเข้า น้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ


ดังนั้นหากลดปริมาณสัดส่วนผสม อาจกระทบเศรษฐกิจต้องสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศ แต่หากคงไว้จะสร้างเศรษฐกิจ มีเงินหมุนเวียนในประเทศ ดังนั้นการยกเลิกเวลานี้ไม่เป็นประโยชน์ ไม่สอดคล้องนโยบายรัฐ หลายกรรมาธิการที่มีจุดยืนสนับสนุน แต่การลดสัดส่วนอาจพิจารณาตามความจำเป็นในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยขณะนี้ กบง. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการรับฟังความเห็น ศึกษาผลกระทบ


รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/qjucYAY25sw


คุณอาจสนใจ

Related News