เปิดร่าง พ.ร.บ.ซ้อมทรมาน-อุ้มหาย

เลือกตั้งและการเมือง

เปิดร่าง พ.ร.บ.ซ้อมทรมาน-อุ้มหาย

โดย nicharee_m

27 ส.ค. 2564

109 views

จากกรณีผู้กำกับโจ้นำมาสู่การเรียกร้องให้มี กฎหมายป้องกันการซ้อมทรมาน อีกครั้ง ซึ่งนักสิทธิมนุษยชน เรียกร้องเรื่องนี้กันมายาวนาน ล่าสุด ครม. ได้ส่งร่างกฎหมายมาถึงสภาผู้แทนราษฎรแล้ว โดยสภาเตรียมพิจารณาเรื่องนี้หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ


ชื่อเต็มๆ คือ "ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย" มีทั้งสิ้น 34มาตรา มีการผลักดันกันมาตั้งแต่ปี 2555 แล้วตกไปในยุค สภา สนช. ตอนนี้ฟื้นกลับมาใหม่ สาระสำคัญหลักๆคือการกำหนดโทษและรายละเอียดเพื่อป้องกันการทรมานและการบังสูญหาย ที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไว้อย่างครอบคลุมทุกรูปแบบ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเอาผิดได้เพียงพอ




ใจความสำคัญ ของร่างกฎหมายฉบับนี้ อยู่ในมาตรา 5 ระบุไว้ชัดว่า ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐทำให้ผู้อื่นเกิดความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อ ให้มีการรับสารภาพ หรือให้ได้ข้อมูล หรือเพื่อข่มขู่ รวมถึงการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ถือว่าเป็นการกระทำความผิดฐานกระทำทรมาน


- โทษสูงสุดจำคุก 25 ปี ปรับ 5 แสนบาท

- ถ้าถึงขั้นเสียชีวิตอย่างกรณีของ มาวิน โทษสูงสุดจำคุก 30ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต ปรับ 1 ล้านบาท


เช่นเดียวกับกรณีบังคับสูญหายในมาตรา 6 ระบุว่า ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐ มีการจับ,ขัง, ลักพาตัว โดยปกปิดชะตากรรม ปกปิดสถานที่ ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย


- โทษก็จะหนักเท่ากัน คือ จำคุก 25 ปี ปรับ 5 แสนบาท

- ถ้าถึงขั้นเสียชีวิต ทษสูงสุด จำคุก 30ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต ปรับ 1 ล้านบาท


ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังเอาผิดครอบคลุมไปถึงผู้สมคบคิดอยู่ในเหตุการณ์ ผู้สนับสนุน ต้องรับโทษเท่ากับคนก่อเหตุด้วยและหากผู้บังคับบัญชารู้เห็นและไม่ระงับการกระทำ ต้องรับโทษครึ่งหนึ่งของผู้ทำผิด นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆร่วมเป็นกรรมการ ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และที่สำคัญ คือการกำหนดให้คดีทรมานบังคับสูญหาย นี้ เป็นคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ หมายความว่า ให้เป็นหน้าที่ ของ DSI ในการทำคดี


อย่างไรก็ตาม การมีกฎหมายฉบับนี้ จะทำให้ประเทศไทย มีกระบวนการยุติธรรมที่สอดคล้องกับหลักการสากลมากขึ้น เพราะไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทรมานไว้ตั้งแต่ปี 2555


รายละเอียดร่าง พ.ร.บ.ฉบับเต็ม











คุณอาจสนใจ