ความเห็นนักวิชาการ-นักการเมือง หลังเปิดคำวินิจฉัยกลาง ศาลยันแก้ รธน.ต้องทำประชามติก่อน

เลือกตั้งและการเมือง

ความเห็นนักวิชาการ-นักการเมือง หลังเปิดคำวินิจฉัยกลาง ศาลยันแก้ รธน.ต้องทำประชามติก่อน

โดย thichaphat_d

16 มี.ค. 2564

47 views

เปิดคำวินิจฉัยกลาง ศาลรัฐธรรมนูญ กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 12 หน้า ศาลรัฐธรรมนูญยืนยัน แก้รัฐธรรมนูญต้องทำประชามติก่อนทูลเกล้า แต่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องทำประชามติ ก่อนร่างสาระสำคัญ


การแก้ไขมาตรา 256 ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขในการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องทำประชามติ ให้ประชาชนเห็นชอบก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำความขึ้นกราบบังคมทูล การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งนี้ย่อมมีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญ2560 อันเป็นการแก้ไขหลักการสำคัญที่ผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญดั้งเดิมต้องการปกป้องคุ้มครองไว้


หากรัฐสภาต้องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติเสียก่อนว่าสมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ จึงดำเนินการต่อไป เมื่อเสร็จแล้วต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่อีกครั้งแล้วจึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ


รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีความยืดหยุ่น เพื่อให้คนในสังคมรุ่นใหม่สามารถจัดการกับความเปลี่ยนแปลงหรือความหลากหลายทางการเมือง ที่เปลี่ยนไปตามการเวลาได้ จึงมีบทบัญญัติให้สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนด


ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. ตั้งข้อสังเกตเชื่อว่า การทำวาระ 3 เป็นไปได้ยาก จึงเห็นว่าควรชะลอโหวตวาระ 3 ไว้ก่อน แล้วให้ไปทำประชามติ


ขณะที่นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว. โพสต์ข้อความแสดงความเห็นว่า การลงมติวาระ 3 ควรได้รับการทบทวนอย่างรอบคอบเพราะหากเดินหน้าต่อไป ก็อาจจะเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 211 บัญญัติไว้ว่าคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ


นายภูมิธรรม เวชชยชัย ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า พรรคการเมืองทุกพรรคที่ได้ให้คำมั่นกับประชาชนไว้ว่าจะร่วมแก้รัฐธรรมนูญ ก็ควรร่วมลงมติ เพื่อผ่านความเห็นชอบวาระ 3 ร่วมกัน โดยไม่ควรงดออกเสียง หรือ ข่มขู่ว่าหากลงมติแล้ว จะมีการร้องเอาผิดเอาบุคคลใด ทั้งนี้ ยืนยันว่า สามารถเดินหน้าลงมติวาระ 3 ได้ เพราะไม่ใช้การแก้ไขทั้งฉบับ แต่เป็นการแก้ไขรายมาตราเท่านั้น



รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/QAx5w9HfQn0

คุณอาจสนใจ

Related News