สธ.ปลดล็อคให้ ปชช.ลงทะเบียนปลูกกัญชงได้ทุกวัตถุประสงค์

เลือกตั้งและการเมือง

สธ.ปลดล็อคให้ ปชช.ลงทะเบียนปลูกกัญชงได้ทุกวัตถุประสงค์

โดย nicharee_m

30 ม.ค. 2564

482 views

วันนี้เป็นวันแรก ที่ประกาศกฎกระทรวงสาธารณสุขปลดล็อคกัญชง มีผลประกาศใช้ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกกัญชงได้ทุกวัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะเพื่อการแพทย์ การค้า หรือเพื่อส่งออก ขณะที่ประชาชนหลายพื้นที่เริ่มไปขอข้อมูลและลงชื่อเพื่อขอลงทะเบียนปลูกบ้างแล้ว


ชาวจังหวัดนครราชสีมาที่สนใจการปลูกกัญชง ต่างไปขอข้อมูลที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เพื่อขอคำแนะนำในการขึ้นทะเบียนขออนุญาตปลูกกัญชง ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ประกาศกฎกระทรวงการขออนุญาต การอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ครอบครองยาเสพติดให้โทษประเภท5 เฉพาะกัญชง พ.ศ.2563 ซึ่งมีผลบังคับใช้วันนี้เป็นวันแรก


ประกาศกฎกระทรวงดังกล่าว จะทำให้ทั้งเกษตรกร ภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป สามารถขออนุญาตปลูกกัญชงได้ทุกวัตถุประสงค์ ทั้งการค้า การแพทย์ การศึกษาวิจัย การใช้ตามวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม หรือผลิตเมล็ดพันธุ์รับรอง ซึ่งสามารถซึ่งสามารถนำส่วนต่างๆ ของกัญชงไปแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ 


ขั้นตอนการขออนุญาตปลูกกัญชง ผู้สนใจต้องยื่นคำขอที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของคำขอแล้วว่า ครบถ้วนหรือไม่แล้ว จะเสนอต่อคณะกรรมการระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน มีคณะกรรมการ อาทิ เกษตรจังหวัด, ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด, สำนักงาน ป.ป.ส.ภาค และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นเลขานุการ เพื่อขอความเห็น หากคณะกรรมการจังหวัดเห็นว่าคุณสมบัติผ่าน ก็จะส่งเรื่องให้ อย.พิจารณาออกใบอนุญาตให้ต่อไป


กัญชง (Hemp) มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับกัญชา แต่เนื่องจากมีสารสำคัญ ทั้ง THC และ CBD ต่ำมาก จึงไม่จัดอยู่ในประเภทยาเสพติด ลักษณะคือมีเส้นใยคุณภาพดี นำมาใช้ในการถักทอได้ดีมาก


กัญชง เป็นพืชล้มลุกอายุข้ามปี มีความสูง 1-6 เมตร รูปร่างคล้ายกัญชา แต่มีข้อแตกต่างคือ ข้อ หรือชั้นของกิ่งสูงชะลูดกว่ากัญชา อีกทั้งกัญชงมีใบเหมือนกัญชา แต่มีสีเขียวซีดกว่า ลักษณะเด่นอีกอย่างของกัญชงคือ มีเส้นใยคุณภาพดีที่นำมาไปถักทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม หรือเครื่องใช้ได้ 


กัญชง หรือ เฮมพ์ เป็นพืชที่มีบทบาทต่อการดำรงชีวิต และวัฒนธรรมชาวไทยภูเขาเผ่าม้งมานานแล้ว และการที่มีการปลูกการใช้เส้นใยอยู่ในแวดวงจำกัด เนื่องจากคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ กำหนดให้เฮมพ์เป็นพืชเสพติดประเภท 5 ตามพ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งก็มีบทบาทลักษณะเดียวกับกัญชา พืชกระท่อมและฝิ่น จึงทำให้ไม่เป็นที่แพร่หลายสำหรับประชาชนทั่วไป

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ