กระทรวงแรงงาน จ่อชง ครม. ลดค่าตรวจโควิด-19 ให้แรงงานข้ามชาติ

สังคม

กระทรวงแรงงาน จ่อชง ครม. ลดค่าตรวจโควิด-19 ให้แรงงานข้ามชาติ

โดย

1 ม.ค. 544

274 views

การเปิดให้แรงงาน 3 สัญชาติ ที่ทำงานในประเทศไทยผิดกฎหมาย คือลาว เมียนมา และกัมพูชา ได้ขึ้นทะเบียนทำงานชั่วคราว 2 ปี จนถึงวันนี้ผ่านมา 10 วัน ตรวจสอบข้อมูลพบว่ามีแรงงานมาขึ้นทะเบียนถึงเวลา18 น. รวม 184,660 คน  แบ่งเป็นแรงงานที่ไม่มีนายจ้างจำนวน 12,629 คน มากที่สุด คือเมียนมา 7,046 คน รองมาคือกัมพูชาและลาว ส่วนแรงงานข้ามชาติที่มีนายจ้างที่มาลงทะเบียนรวม 172,031 คน มากสุด คือเมียนมา 102,933 รองมาคือกัมพูชา และลาว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานตั้งข้อสังเกตุถึงตัวเลขของการลงทะเบียนที่ผ่ามา 1วันว่า กลุ่มที่มากสุดคือแรงงานที่มีนายจ้าง สะท้อนให้เห็นว่าแรงงานผิดกฎหมายส่วนใหญ่มีงานทำ เฉพาะที่ลงทะเบียนแล้วมีนายจ้างมาลงทะเบียนให้ 3-4 หมื่นคน ส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในประเทศไทยก่อนช่วงโควิด แต่ทำผิดเงื่อนไข MOU จึงกลายเป็นแรงงานนอกระบบ
รัฐบาลตั้งเป้าว่าการนำแรงงานนอกระบบลงทะเบียนจะช่วยตรวจโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ช่วยกิจการในประเทศไทยให้มีแรงงานทำงานในสถานการณ์ที่นำเข้าแรงงานตาม MOU ใหม่ไม่ได้ และช่วยด้านความมั่นคง ที่ทำให้รู้ตัวตนแรงงานใต้ดินมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้องค์กรต่างๆ กังวลว่าค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียนประมาณ 9 พันบาทต่อคน และมากกว่าร้อยละ 80 เป็นค่าใช้จ่ายด้านตรวจสุขภาพ เช่นค่าตรวจโควิด 3 พันบาท ค่าตรวจโรคต้องห้าม 2 ปี 1 พันบาท และค่าซื้อประกันสุขภาพควบ 2 ปี 3,200 บาท ซึ่งแรงงานหรือจายจ้างที่ไม่พร้อมจ่าย อาจไม่ลงทะเบียนและเกรงจะไม่สะท้อนยอดแรงงานใต้ดินที่แท้จริง
ล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานยืนยันกับข่าว 3 มิติว่า จะเสนอลดค่าตรวจโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานที่จะขึ้นทะเบียนโดยอ้างอิงตามกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จาก 3,000 เหลือ 2,300 บาท โดยจะเสนอต่อที่ประชุม ครม.วันที่ 26 ม.ค. 64 และอีกประเด็นสำคัญคือกรณีแรงงานตามเอ็มโอยู กว่า 1 ล้าน 5 แสนคน ที่ถูกกฎหมายแต่ต้องผ่านขั้นตอนการต่อวีซ่าภายใน 31 มีนาคมนี้ แต่จากวิกฤติโควิด ทำให้ติดปัญหาการตรวจโรคในโรงพยาบาลของรัฐนั้น กระทรวงแรงงานจะเสนอครม.ให้ยืดเวลาให้แรงงานตามเอ็มโอยู ราว 1 ล้าน 5แสนคน ทำงานต่อไปได้อีก 6 เดือน นับจาก 31 มีนาคม ที่จะถึงนี้โดยไม่ผิดกฎหมาย

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ