สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แผนแก้น้ำท่วม-น้ำแล้ง 10 จังหวัด ลุ่มน้ำมูล

สังคม

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แผนแก้น้ำท่วม-น้ำแล้ง 10 จังหวัด ลุ่มน้ำมูล

โดย

25 ม.ค. 2564

138 views

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เปิดเผยความคืบหน้าการศึกษา การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ หรือ SEA (strategic Environmental Assessment) ในลุ่มน้ำมูล เพื่อประเมินศัยภาพและข้อจำกัดของลุ่มน้ำก่อนการพัฒนา และแม้ว่าผลศึกษาโดยสมบูรณ์จะแล้วเสร็จในเดือนหน้า แต่ตอนนี้เริ่มเห็นแนวทางที่เป็นทางเลือก และข้อเสนอการพัฒนาแล้ว หากผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ จะเป็นแบบแผนให้ทุกหน่วยงาน ต้องปฎิบัติตามหากต้องพัฒนาลุ่มน้ำมูล
น้ำท่วมในหลายอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา เมื่อปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำมูล โดยเป็นน้ำที่หลากท่วมในช่วงปลายฤดูฝน ทั้งที่ 2 ปีก่อนเผชิญภัยแล้ง ขณะที่2 ปีก่อน น้ำท่วมหนักในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีปัจจัยมาจากลำน้ำสาขา โดยเฉพาะน้ำชี ที่ไหลลงแม่น้ำมูลเช่นกัน ทำให้ลุ่มน้ำมูลบางพื้นที่เผชิญภัยแล้ง และบางแห่งน้ำท่วมไปพร้อมกัน
ภาวะขาดน้ำและน้ำท่วมที่เกิดขึ้นหลายลุ่มน้ำ มีความพยายามแก้ไขโดยหลายหน่วยงาน ทั้งการขุดลอกคลอง ขุดบ่อ หรือทำพนังกั้นน้ำ บางส่วนสร้างปัญหาอื่นตามมา เช่นเดียวกับการพัฒนาขยายตัวของเมือง เช่นพื้นที่ลุ่มน้ำมูลที่ 2-3 ปีต่อมา ก็พบว่ากีดขวางทางน้ำ เป็นต้น 
นักวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งศึกษาศักยภาพและข้อจำกัดของพื้นที่ลุ่มน้ำมูล ภายใต้แนวทางศึกษาที่เรียกว่า "การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ หรือSEA ที่ย่อมาจาก strategic enviranmental assessment ระบุว่าการแก้ไขหรือพัฒนาในลุ่มน้ำมูลในอดีต มักต่างคนต่างทำของแต่ละหน่วยงาน ทั้งซ้ำซ้อน หรือไม่สอดคล้องกัน
ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา สนทช.มอบให้นักวิชาการศึกษาประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ หรือSEA ที่ไม่ได้ลงลึกเป็นรายโครงการ แต่เป็นการศึกษาทั้งหมดของลุ่มน้ำนั้นๆ เพื่อนำไปกำหนดนโยบาย และเฉพาะลุ่มน้ำมูล ศึกษาไป 10 จังหวัดที่เชื่อมโยงลุ่มน้ำมูล เช่นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เป็นต้น พบข้อจำกัดแตกต่างกัน เช่นลุ่มน้ำมูลมีพื้นที่เกษตร 33 ล้านไร่ แต่เป็นพื้นที่ชลประทาน 2 ล้านไร่ ที่เหลือ 31 ล้านไร่ ต้องรอคอยน้ำฝน ส่วนปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยปีละ 13,000 ล้านลบม. แต่กักเก็บน้ำไว้ได้เพียง 5350 ล้าน ลบม. ทำให้บางพื้นที่ขาดแคลน้ำ ขณะที่ปลายน้ำเผชิญน้ำทว่ม ส่วนแนวทางเลือกที่นำเสนอ เช่นการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำชั่วคราว การเชื่อมโยงแหล่งน้ำขนาดเล็กเข้าด้วยกัน การกักเก็บน้ำส่วนเกินในฤดูฝนเพื้อใช้ฤดูแล้ง เป็นต้น ซึ่งแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไประหว่างลุ่มน้ำมูลตอนบน ตอนกลาง ตอนปลาย รวมถึงฝั่งซ้ายและขวาของลำน้ำมูล
ขณะที่เลขาธิการ สนทช. ระบุว่าระหว่างศึกษาประเด็นนี้ต้องให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วม เพราะผลการศึกษาฉบับจะเป็นแนวทางการพัฒนาลุ่มน้ำมูลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ผลการศึกษา SEA มีกำหนดจะเสร็จสมบูรณ์ เดือนกุมภาพันธ์ ที่จะถึง จากนั้นจะนำรายงานคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ เพื่อพิจารณา หากเป็นที่เห็นชอบ ผลการศึกษาจะเป็นเหมือนแนวทางที่แต่ละหน่วยงานจะต้องศึกษาและปฎิบัติตาม หากต้องการแก้ปัญหาน้ำท่มและน้ำแล้ง ในลุ่มน้ำมูล

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ