คุณต้องการล้างการแจ้งเตือนทั้งหมด?
10 ชม. ที่ผ่านมา
70 view
10 ชม. ที่ผ่านมา
2.6K view
10 ชม. ที่ผ่านมา
99 view
10 ชม. ที่ผ่านมา
34 view
11 ชม. ที่ผ่านมา
24 view
11 ชม. ที่ผ่านมา
102 view
11 ชม. ที่ผ่านมา
108 view
19 ม.ค. 2564
574 view
ออกอากาศ: ช่อง 33 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 05.30 - 08.00 น.
นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า การยื่นขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทแอสตราเซนเนกา ในไทยนั้น เป็นการยื่นขอขึ้นทะเบียนในล็อตการผลิตในต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ได้ยื่นเอกสารต่างๆ ค่อนข้างครบถ้วนแล้ว รอเอกสารข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของคุณภาพมาตรฐานการผลิตของโรงงานในต่างประเทศ ก่อนที่ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาว่า อนุมัติการขึ้นทะเบียนหรือไม่ และหากเอกสารครบจะสามารถพิจารณาได้ภายใน 1 สัปดาห์
หากวัคซีนตัวนี้ที่เป็นล็อตการผลิตในต่างประเทศได้รับการขึ้นทะเบียน จะส่งผลต่อประเทศไทย คือ วัคซีนชนิดนี้ตัวนี้ที่บริษัท สยามไบโอไซเอนฯ จะรับถ่ายทอดเทคโนโลยี มาผลิตในประเทศไทย 26 ล้านโดส เมื่อผลิตในประเทศแล้วเสร็จ ก็จะทำให้ขึ้นทะเบียนวัคซีนชนิดเดียวกันแต่ต่างสถานที่ผลิตได้เร็วขึ้น เพราะมีหลักฐานการผลิตเหมือนกับล็อตที่ผลิตในต่างประเทศและที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากอย.แล้ว
อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนจะไม่สามารถนำเข้าวัคซีนตัวนี้ได้ เพราะในการยื่นขึ้นทะเบียนของบริษัทแอสตราเซนเนการะบุว่าจะขายให้รัฐบาลไทย และเป็นการอนุมัติการขึ้นทะเบียนในภาวะฉุกเฉิน ทั้งนี้ขณะนี้มี 2 บริษัท แอสตร้า เซเนก้า และบ.ซิโนแวท ที่ยื่นประเมินรับรองคุณภาพจากทาง อย. คาดว่าจะมีข่าวดีในสัปดาห์นี้
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก ขอบคุณอย.ที่เร่งตรวจสอบวัคซีนล็อตแรก โดย ระบุว่า
“วันนี้ ผมขอขอบคุณทาง อย. ที่เร่งดำเนินการพิจารณาตรวจสอบวัคซีนล็อตแรก และขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนที่เร่งเตรียมการ เพื่อให้เรามีความพร้อมในเรื่องการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะที่สำคัญอย่างยิ่ง คือการเตรียมระบบการติดตามผล และอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัยของคนไทยทุกคน”
ส่วนกรณีมีข่าวโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งมาขอขึ้นทะเบียน วัคซีนโควิด-19 ของบริษัทไซโนแวค ประเทศจีน โดยอ้างว่า อย. ต้องใช้เวลา 3 เดือนในการพิจารณาวัคซีนดังกล่าวนั้น นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ชี้แจงว่า
ขณะนี้มีการยื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนวัคซีนของบริษัท ไซโนแวค ไบโอเทค จริง แต่ผู้ยื่นขออนุญาตคือองค์การเภสัชกรรม อย. ไม่เคยได้รับคำขอขึ้นทะเบียนวัคซีนดังกล่าวจากโรงพยาบาลเอกชนแต่อย่างใด
รวมทั้งไม่เคยได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ ของบริษัทหารือเรื่องระยะเวลาการขึ้นทะเบียนวัคซีน มีเพียงหนังสือที่โรงพยาบาลเอกชนรายนี้ยื่นต่อ อย. เมื่อวันที่ 11 ม.ค.2564 ที่ผ่านมา เพื่อขอให้ อย. ลงนามในเอกสารประกอบการจองวัคซีนของบริษัท โดยแจ้งว่าจะมีการขอขึ้นทะเบียนและขออนุญาตนำเข้าต่อไป
ทั้งนี้ อย. มีหน้าที่พิจารณาตรวจสอบวัคซีนที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย โดยต้องได้รับการประเมินก่อนนำไปใช้จริง เพื่อให้เหมาะสมกับคนไทย ซึ่งจะประเมินใน 3 ด้าน คือ 1. คุณภาพ 2. ความปลอดภัย และ 3. ประสิทธิผลของวัคซีน โดยผู้ที่ต้องการขึ้นทะเบียนจะต้องแสดงข้อมูลเอกสารหลักฐานเพื่อประเมินคุณสมบัติของวัคซีนทั้ง 3 ด้านดังกล่าว ซึ่ง อย. พร้อมอำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนอย่างเต็มที่ ระดมสรรพกำลังทั้งผู้เชี่ยวชาญภายในและภายนอกมาร่วมพิจารณา เพื่อให้สามารถอนุมัติวัคซีนได้โดยเร็วที่สุด
อย่างไรก็ตาม อย. จะพิจารณาโดยยึดหลักที่สำคัญ ว่าต้องเป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัย มีคุณภาพมาตรฐาน และมีประสิทธิผล วัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จะเป็นวัคซีนที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ที่จะต้องมีระบบการกำกับติดตาม เฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้อย่างต่อเนื่อง โดยผู้รับอนุญาตนำเข้าต้องรับผิดชอบหากเกิดผลกระทบต่อประชาชน
ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงข้อกังวลการฉีดวัคซีนของหลายประเทศ ที่มีผู้เสียชีวิต และมีผลข้างเคียงว่า ข่าวที่ออกมาทั้งหมดจะได้มาจากสำนักข่าวต่างประเทศ ยังไม่มีการแถลงอย่างเป็นทางการจากองค์การของรัฐใดๆ ที่เกี่ยวข้อง ว่าการใช้วัคซีน แล้วมีปัญหา และเป็นอันตรายอย่างไร หรือต้องยกเลิกการใช้หรือไม่
ในส่วนของประเทศไทย ยืนยันว่า รัฐบาลจะดูแลประชาชนทุกคน และวัคซีนที่ใช้ต้องปลอดภัยในภาพรวม แต่การฉีดวัคซีนในจำนวนคนเป็นล้าน อาจต้องมีการแพ้บ้าง ซึ่งทางการแพทย์ถือว่าปกติ และกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดตั้งอนุกรรมการขึ้นมาบริหารจัดการเรื่องวัคซีน โดยจะคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด