How to วิธีการหางานแบบใหม่ ในยุค New Normal

ประชาสัมพันธ์

How to วิธีการหางานแบบใหม่ ในยุค New Normal

โดย

28 ธ.ค. 2563

1.9K views

การยื่นใบสมัครงานถือเป็นก้าวแรกของเด็กจบใหม่ ที่จะก้าวเข้าสู่โลกของการทำงานอย่างแท้จริง แต่ยุคนี้ทุกอย่างดูจะยุ่งยากไปหมด ยิ่งเศรษฐกิจทุกวันนี้ หลายบริษัททยอยจัดโปรเลิกจ้าง ทั้งสมัครใจและไม่สมัครใจ ซ้ำร้ายกว่านั้นบางบริษัทถึงขั้นประกาศยุติกิจการ ยิ่งยากเข้าไปกันใหญ่ ทำเอาคนตกงานเป็นแถว มาถึงจุดนี้คนที่ยังได้ไปต่อก็ดีไป แต่คนที่ต้องตกงานก็มีและเหมือนจะมากเหลือเกิน

ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทยและทั่วโลก ได้ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป จนกลายเป็นความปกติใหม่ที่เรียกว่า “New Normal” ทั้งรูปแบบการใช้ชีวิต รวมถึงรูปแบบและเครื่องมือที่เกี่ยวกับการจ้างงาน เรียกได้ว่าสำหรับเด็กจบใหม่แล้วถูกกระทบชนิดที่หลีกหนีไม่พ้น 

ซึ่งจากสถานการณ์ปัจจุบัน นายจ้างหลายหน่วยงานให้ความสำคัญกับการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) มากขึ้น จึงทำให้ผู้หางานหันมาใช้ช่องทางการค้นหา และยื่นใบสมัครงานทางออนไลน์ มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งช่วยประหยัดเวลา และยังสามารถค้นหางานได้อย่างกว้างขวาง หลากหลาย และรวดเร็ว แต่การที่จะลงประวัติส่วนตัวไว้ในโลกไซเบอร์ทุกวันนี้ก็ต้องคิดให้ดี ว่าปลอดภัยแค่ไหน ข้อมูลจะรั่วไหลไปถึงมิจฉาชีพ ที่คอยจ้องจะสวมรอยหรือไม่ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความหลากหลายของงานในเว็บไซต์นั้น ๆ ด้วย

ภาพจาก Envato Element

โดยผู้หางานสามารถเข้ามาค้นหาตำแหน่งงานที่สถานประกอบการประกาศ และสถานประกอบการเข้ามาค้นหาผู้สมัครงานที่มีคุณสมบัติตามที่สถานประกอบการต้องการ รวมถึงเพิ่มในเรื่องการเชื่อมต่อข้อมูลผู้สมัครงานที่มาจากการจบฝึกอบรมของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผ่านระบบ Service ของกรมการจัดหางาน

กรมการจัดหางาน ในฐานะหน่วยงานของรัฐ ที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง จึงได้มีการพัฒนารูปแบบเว็บไซต์สมัครงาน Smart Job Center (https://smartjob.doe.go.th) ที่ผู้หางานสามารถมั่นใจ และเชื่อถือได้  เพื่อเป็นตัวกลางในการช่วยให้ผู้หางานใช้ค้นหางานที่ชอบ อาชีพที่ใช่ นายจ้างที่ถูกใจได้อย่างปลอดภัย เพราะทางกรมฯ ได้มีการ ตรวจสอบ คัดสรรนายจ้างที่หลากหลายให้แล้วเรียบร้อย

โดยผู้หางานสามารถเข้ามาค้นหาตำแหน่งงานที่สถานประกอบการประกาศ และสถานประกอบการเข้ามาค้นหาผู้สมัครงานที่มีคุณสมบัติตามที่สถานประกอบการต้องการ รวมถึงเพิ่มในเรื่องการเชื่อมต่อข้อมูลผู้สมัครงานที่มาจากการจบฝึกอบรมของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผ่านระบบ Service ของกรมการจัดหางาน Smart Job Center จะให้บริการค้นหางาน ที่เหมาะสมสำหรับคนที่หางานทำทั่วไป กลุ่มคนพิการ และกลุ่มผู้สูงอายุ ตัวเว็บไซต์มีบริการค้นหาตำแหน่งงานที่ว่างทั้งในและต่างประเทศรวบรวมไว้ให้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานมากขึ้น

ภาพจาก Envato Element

เพื่อให้เข้ากับโลกปัจจุบัน ยังได้มีการพัฒนาระบบเพิ่มเติม เพื่อรองรับการค้นหางานที่มีประสิทธิภาพ ที่จะช่วยรวบรวม ตรวจสอบ รวมถึงคัดกรองตำแหน่งงาน นายจ้างที่เชื่อได้ ทำให้ Smart Job กลายเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่จะรวบรวมเอาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสาขาอาชีพงานที่หลากหลายครอบคลุม เป็นศูนย์กลางงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับความต้องการ และเพิ่มโอกาสให้ผู้หางานทุกกลุ่ม  อาทิ กลุ่มคนที่หางานทำทั่วไป กลุ่มคนพิการ และกลุ่มผู้สูงอายุ

พร้อมกันนี้ยังมีฟังก์ชั่นช่วยเหลือสำหรับคนที่ยังลังเล โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ที่บางคนยังไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน ตัวเองเหมาะกับงานอะไร ยังมีความกังวลเกี่ยวกับอาชีพนั้นก็หายห่วงได้ เพราะทางเว็บไซต์มีตัวช่วยในการแนะแนวอาชีพ สามารถทำแบบทดสอบประเมินความถนัดของตนเอง ที่ตัวผู้สมัครงานสามารถเข้าไปทำแบบทดสอบเพื่อที่จะได้รู้จักตนเองมากยิ่งขึ้น

โดยมีแบบทดสอบ 2 แบบทดสอบหลัก คือ

1. แบบทดสอบบุคลิกภาพ ประกอบด้วย แบบทดสอบความพร้อมทางอาชีพ และแบบทดสอบค่านิยมการทำงาน

2. แบบทดสอบสมรรถนะ ประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ ความสามรถทั่วไป, แบบทดสอบรายอาชีพ ซึ่งจะเป็นการทำแบบทดสอบความรู้เฉพาะตำแหน่งงานที่ผู้สมัครงานเลือก และแบบทดสอบสมรรถนะหลักในการทำงาน โดยระบบจะคำนวณผลคะแนนออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเพียงเท่านี้ก็จะทำให้ผู้สมัครงานนั้น ได้เข้าใจตนเองมากขึ้น และสามารถตัดสินใจเลือกสมัครสายงานที่เหมาะกับตนเองมากที่สุดได้ และยังมีการอัปเดตสถานะ ข้อมูลข่าวสาร ปฏิทินนัดพบแรงงานให้เราได้เข้าไปดูได้ตลอด

นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มการจ้างงานรูปแบบใหม่ใน ชื่อ “บัตรดิจิทัล (Smart Job Wallet)” โดยให้บริการรูปแบบ QR Code มีวิธีใช้งานง่าย 3 ขั้นตอน ได้แก่

1) เปิดเว็บไซต์ smartjob.doe.go.th 

2) ลงทะเบียน/เข้าสู่ระบบ

3) ไปที่เมนูดาวน์โหลดบัตรดิจิทัล Smart Job Wallet สามารถใช้ได้ทั้งในระบบปฏิบัติการ IOS และ Android (ระบบ Android จะต้องติดตั้งแอปพลิเคชั่น Mywallet ก่อน)

ซึ่งสามารถนำบัตรดิจิทัล (Smart Job Wallet) ไปใช้ได้ 3 ช่องทาง คือ

1. ทางระบบอินเทอร์เน็ต ช่องทางนี้ผู้ใช้บริการจะได้รับข้อมูลแบบ Real Time  เนื่องจากใช้ฐานข้อมูลเดียวกันกับระบบ Smart Job 

2. ที่สำนักงานจัดหางาน โดยนำบัตรดิจิทัลแสดงตนแทนบัตรประจำตัวนายจ้าง และบัตรประจำตัวประชาชน

3. งานนัดพบแรงงาน โดยไม่ต้องใช้เอกสาร (Paperless)

ภาพจาก Envato Element

เมื่อว่ากันมาถึงขนาดนี้แล้ว ใครที่เรียนจบแล้วแต่ยังเคว้างคว้างอยู่ ไม่รู้จะเริ่มจากจุดไหนไปไหนดี หรือนักศึกษาที่กำลังมองหางานให้ตัวเองในอนาคต หรืองานพาร์ทไทม์ทำขั้นเวลาเพื่อสร้างรายได้ หรือใครที่กำลังตกงานอยู่สามารถเปิดเว็บไซต์ Smart Job Center (https://smartjob.doe.go.th/) ของกรมการจัดหางานได้เลย แล้วไปค้นหาอาชีพที่ชอบ นายจ้างที่ใช่และมั่นใจกันได้เลย

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ