'ณัฏฐพล' พิจารณา นักเรียนแต่งไปรเวท เดือนละ 1 ครั้งในอนาคต

เลือกตั้งและการเมือง

'ณัฏฐพล' พิจารณา นักเรียนแต่งไปรเวท เดือนละ 1 ครั้งในอนาคต

โดย

2 ธ.ค. 2563

345 views

กลุ่มนักเรียนเลว จัดแฟลชม็อบหน้ากระทรวงศึกษาธิการ ชูป้าย-แขวนชุดนักเรียนหน้ารั้วแสดงสัญลักษณ์ ยกเลิกบังคับใส่เครื่องแบบ และล้อมผ้าสีรุ้งเพิ่มสีสันกระทรวงไม่ให้จืดชืด โวยหลายโรงเรียนปิดกั้นใส่ชุดไปรเวท
กลุ่มผู้ชุมนุมที่ใช้ชื่อ “นักเรียนเลว” ได้ปักหลักทำกิจกรรมแฟลชม็อบ ตามที่ประกาศนัดชุมนุมเลิกเรียนไปกระทรวงตั้งแต่เวลา 16.00 น. โดยมีตั้งเวทีปราศรัยขนาดเล็ก พร้อมเครื่องขยายเสียงจำนวน 7 ตัว
เนื้อหลักในการชุมนุมเป็นการสะท้อนข้อเรียกร้องไปยัง นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับการแต่งกายด้วยชุดไปรเวทของนักเรียน
หลังจากที่วันที่ 1 ธ.ค.63 มีนักเรียนบางโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อรวบรวมเด็กที่ได้รับผลกระทบและหาทางออกร่วมกัน รวมถึงมีการประกาศห้ามใส่ชุดไปรเวทไปเรียน รวมไปถึงจะมีการพูดถึงกฎระเบียบของแต่ละโรงเรียนว่า หากนักเรียนจะใส่ชุดไปเวทไปโรงเรียนจะมีวิธีการอย่างไร
ช่วงหนึ่ง ได้นำป้ายระบุข้อความ ใส่ชุดนักเรียนไม่ปลอดภัย อีกทั้งยัง ล้อมผ้าสีรุ้ง สื่อถึงความหลากหลาย และเพิ่มสีสันให้กับกระทรวงที่จืดชืด และ นำชุดนักเรียนที่เตรียมไว้มาแขวนประตูรั้วด้านหน้ากระทรวง เพื่อแสดงออกกเชิงสัญลักษณ์ ย้ำว่าไม่ได้ต้องการให้ยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน แต่เรียกร้องให้ยกเลิกการบังคับใส่ และมองว่าควรเปิดกว้างใส่ชุดไปรเวท ที่เป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ทำได้
เบื้องต้นแกนนำ ยืนยันเป็นการชุมนุมที่ถูกต้องตามกฎหมาย ได้ขออนุญาตกับผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 ตามขั้นตอนแล้ว โดยจะยุติในเวลาประมาณ 20.00 น. ขณะที่ตำรวจ ได้เข้ามาอำนวยความสะดวกด้านการจราจร และประชาสัมพันธ์ขอให้ชุมนุมเฉพาะบนฟุตบาต เพื่อไม่ให้กระทบกับการจราจร
ขณะที่สังคมออนไลน์มีการส่งคลิปที่มีการระบุว่า มีครูโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ไม่ยินยอมให้นักเรียนแต่งชุดไปรเวทเข้าเรียน พร้อมกับไล่ให้นักเรียนกลับบ้าน อีกคลิปเป็นกลุ่มนักเนรียนที่รวมตัวตะโตนส่งเสียงเรียกร้องว่า ปล่อยเพื่อนเรา เพื่อให้ทางครูยุติการกักตัวนักเรียนที่แต่งชุดไปรเวทออกจากห้องฝ่ายปกครอง 
นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปเกาะติดกิจกกรรมที่กลุ่มนักเรียนเลวร่วมกันจัดขึ้น คทอการแต่งชุดไปรเวทไปเรียนในหลายพื้นที่ โดยผลสำรวจนักเรียนแต่งชุดไปรเวทไปเรียน หรือกิจกรรม 1 ธันว่าบอกลาเครื่องแบบ มีผู้ตอบรับกว่า 81% และมีนักเรียนจาก 23 โรงเรียนร่วมแสดงออก แต่ก็พบว่านักเรียนที่แต่งชุดไปรเวทเดินทางไปโรงเรียนจริงๆ ยังมีจำนวนไมามาก ดดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่แต่งชุดไปรเวทเต็มตัว และกลุ่มที่แต่งไปรเวทบางส่วน
ด้านมูลนิธิกระจกเงาได้โพสต์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว โดยมีข้อความระบุว่า 
แถลงการณ์มูลนิธิกระจกเงา
เรื่อง ต้องมีการทบทวน และอภิปรายระเบียบการใส่เครื่องแบบนักเรียน 
.
จากกรณีการเคลื่อนไหวของนักเรียน รวมกลุ่ม 23 โรงเรียนแต่งชุดไปรเวทไปโรงเรียน เพื่อแสดงออกถึงสิทธิเสรีภาพในการแต่งกาย ทำให้เกิดการลงโทษ หรือปฏิกิริยาโต้กลับของคุณครู และโรงเรียนในฐานะผู้ควบคุมกฎระเบียบในโรงเรียน
.
มูลนิธิกระจกเงา ในฐานะองค์กรที่เปิดรับบริจาคชุดนักเรียนมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา เราส่งต่อชุดนักเรียนไปทั้วประเทศแล้วหลายหมื่นชุด
.
เห็นได้ชัดว่าผ่านมา 20 ปีแล้ว แต่ระเบียบการใส่เครื่องแบบนักเรียนยังเป็นปัญหา สร้างความเหลื่อมล้ำอย่างมาก สร้างภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครอง
.
อย่างไรก็ตาม แม้เราเห็นว่าเป็นภาระ แต่กฎระเบียบโรงเรียนได้กำหนดให้ผู้ปกครอง และเด็กต้องทำตาม
.
ดังนั้นในฐานะที่เราเป็นเพียงมูลนิธิ เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์องค์กรหนึ่ง การขับเคลื่อนโดยลำพัง ย่อมไม่มีขีดความสามารถ ที่จะผลักดันให้เกิดการยุติความเหลื่อมล้ำนี้ ที่ผ่านมาเราจึงเพียงขอทำหน้าที่ในการอุดข้อจำกัดของชุดนักเรียนนี้ แต่อย่าเข้าใจผิดว่าเราสนับสนุนให้เกิดการใส่เครื่องแบบนักเรียน อันนำมาซึ่งความเดือดเนื้อร้อนใจของผู้ปกครอง และเด็ก
.
เราไม่เชื่อว่าการใส่ชุดนักเรียนจะสร้างสิ่งที่เรียกว่าระเบียบวินัยได้ ใน 5 วันต่อสัปดาห์ เด็กนักเรียนต้องใส่เครื่องแบบนักเรียน 2 วัน เครื่องแบบลูกเสือ 1 วัน เครื่องแบบพละ 1 วัน และหากเป็นโรงเรียนในต่างจังหวัด ยังมีชุดพื้นเมืองที่ต้องจัดหาเพิ่มอีก 1 ชุด
.
ในขณะที่รัฐอุดหนุนค่าเครื่องแบบนักเรียน ระดับอนุบาล คนละ 300 บาท/ปี ระดับประถมศึกษา คนละ 360 บาท/ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คนละ 450 บาท/ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คนละ 500 บาท/ปี และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ คนละ 900 บาท/ปีเท่านั้น ทำให้ค่าใช้จ่ายเครื่องแบบนักเรียนจึงเกินงบประมาณที่รัฐจัดสรรให้อยู่มาก
.
เราจึงพบเห็นได้อยู่เสมอว่า มีเด็กในพื้นที่ห่างไกล หรือในโรงเรียนขนาดเล็กเด็กยากจน จะมีชุดนักเรียนอยู่ชุดเดียว ซัก 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และใส่จนดำ เด็กบางคนใส่ชุดนักเรียนทับกันสองชั้นเพื่อทับจุดที่ขาดของแต่ละตัวไว้ เด็กบางคนใส่ชุดนักเรียน แต่ไม่มีรองเท้านักเรียนให้ใส่ และเด็กบางคนไม่มีถุงเท้านักเรียนใส่ ในขณะที่ฝั่งของผู้ปกครอง ก็จะถูกกดดันให้จัดหาเครื่องแบบนักเรียน หากครอบครัวไหนที่ไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้ เหมือนจะถูกตีตราว่าไม่สนับสนุนการศึกษาของลูก
.
เราไม่รู้หรอกว่า จุดลงตัวจะอยู่ตรงไหนในเรื่องนี้ แต่มูลนิธิกระจกเงา ขอเรียกร้องให้เกิดการทบทวนและอภิปรายในเรื่องเครื่องแบบนักเรียน กับปัญหาความเหลื่อมล้ำ และภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง และหมายรวมถึงการทบทวนสิทธิเสรีภาพเด็ก ที่ควรมีต่อเนื้อตัวร่างกายของตนเอง
.
มูลนิธิกระจกเงา
1 ธันวาคม 2563
ในส่วนต่างจังหวัดเด็กนักเรียนมนหลายพื้นที่ตอบรับกิจกรรม แต่งชุดไปรเวทไปเรียนเช่นเดียวกัน
ขอนแก่น -  อาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยม (ศึกษาศาสตร์) เรียกนักเรียนที่สวมใส่ชุดไปรเวทมาโรงเรียนเข้าห้องปกครองนานกว่า 3 ชั่วโมง ก่อนจะปล่อยตัวออกมาให้ไปเรียนหนังสือตามปกติ ขณะที่กลุ่มภาคีนักเรียน KKC รวมตัวเคลื่อนไหว
มีกรณีเพจเฟซบุ๊กชื่อ “ภาคีนักเรียนKKC” ไลฟ์สดบรรยากาศหลังจากกลุ่มนักเรียนมีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยการแต่งชุดไปรเวทมาเรียนหนังสือ โดยระบุข้อความว่า “สถานการณ์ปัจจุบัน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ศึกษาศาสตร์” โดยเป็นเหตุการณ์ภายหลังจากเข้าแถวเคารพธงชาติเสร็จ 
ซึ่งในคลิปวีดีโอผู้ที่ไลฟ์สดเป็นนักเรียนชายบรรยายสถานการณ์ในคลิป ใจความคือ หลังจากที่นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยม (ศึกษาศาสตร์) แต่งชุดไปรเวทมาที่โรงเรียน ได้มีอาจารย์ซึ่งระบุว่าเป็นอาจารย์ฝ่ายปกครองเรียกตัวนักเรียนที่ใส่ชุดไปรเวทประมาณ 10 คน เข้าไปภายในห้องปกครองและมีการพูดคุยโดยไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปภายในโรงเรียน ซึ่งใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมงนักเรียนทุกคนจึงออกจากห้องมาทั้งหมด 
ซึ่งนักเรียนที่ได้ออกมาบางคนเปิดเผยในไลฟ์สดว่าที่อาจารย์เรียกไปคุยนั้นเกี่ยวกับการใส่ชุดไปรเวทมาเรียน แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดการพูดคุยว่าเป็นอย่างไร ก่อนที่นักเรียนทั้งหมดจะเข้าเรียนตามปกติ พร้อมทั้งจะมีการแถลงการณ์เกี่ยวกับกรณีที่เกิดขึ้นอีกครั้งและเตรียมเคลื่อนไหวในช่วงเย็นหลังเลิกเรียน
ผู้สื่อข่าวได้พูดคุยกับนักเรียนระดับชั้น ม.6 ของกลุ่มภาคีนักเรียน KKC เปิดเผยว่า พอทราบว่ามีเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นทางกลุ่มก็ได้เข้ามาช่วยกันคุยกับอาจารย์ว่าสามารถใส่ได้ แต่อาจารย์ก็ไม่ยอมปล่อยตัว พร้อมขอเชิญให้นักเรียนที่มาช่วยกลับไปที่โรงเรียนตัวเอง พร้อมประสานอาจารย์ของนักเรียนที่มาช่วยให้มารับตัวนักเรียนกลับไป แต่ทางกลุ่มมองว่าต้องอยู่ช่วยเพื่อนช่วยน้อง และไลฟ์สดเพื่อกดดันยืนยันว่าการใส่ชุดไปรเวทมาเรียนนั้นสามารถทำได้ และอาจารย์ก็ไม่สามารถลงโทษได้ ซึ่งนักเรียนจากหลายโรงเรียนได้เข้ามานั่งรอที่หน้าปกครองเพื่อกดดันให้อาจารย์ปล่อยตัวนักเรียนออกมา
นอกจากนี้อาจารย์ที่อยู่ภายในห้องยังได้ออกมาถ่ายรูปนักเรียนโดยที่นักเรียนไม่ยินยอมด้วย ซึ่งในส่วนนี้ทำให้รู้สึกว่านักเรียนถูกคุกคาม ก่อนที่เวลาจะผ่านไปประมาณ 3 ชั่วโมง อาจารย์จึงยอมปล่อยนักเรียนออกมาเรียนตามปกติ ซึ่งการที่นักเรียนอยู่ในห้องๆ หนึ่ง 3 ชั่วโมง และไม่ใช่ห้องเรียน ทำให้รู้สึกว่า เวลาดังกล่าวควรจะเป็นเวลาของการเรียนรู้ แต่กลับต้องมานั่งพูดคุยเกี่ยวกับการใส่ชุดไปรเวทมาเรียน 
ทั้งนี้นายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงกลุ่มนักเรียนเลวรณรงค์ให้นักเรียนแต่งชุดไปรเวทไปโรงเรียน บอกว่า แม้ว่าจะเป็นสิทธิ แต่สถานศึกษาก็มีระเบียบด้านการแต่งการตามระเบียบของกระทรวงศึกาาธิการ แต่เชื่อมั่นว่า ทุกแห่งย่อมมีมาตรการ พูดคุยทำความเข้าใจกับนักเรียน พร้อมกับเชิญผู้ปกครองมาชี้แจงถึงบทลงโทษ แต่ไม่รุนแรงถึงขั้นไล่ออก
นายณัฎฐพล ย้ำว่า เมื่อเรื่องของการแต่งกายเป็นประเด็น คงต้องนำมาพิจารณาอีกครั้ง ว่าชุดที่นักเรียนใส่มามีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งในอนาตคอาจจะให้มีการแต่งชุดไปรเวท 1 ครั้งต่อเดือน หรือ 1 ครั้งต่อเทอม 
รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/CN83F6bs7HI

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ