'ผู้เชี่ยวชาญ' วิเคราะห์นายกฯ ขอกลุ่มผู้ชุมนุม 'ราษฎร' ถอยคนละก้าว ย้ำการประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินเป็นการสร้างเงื่อนปม

สังคม

'ผู้เชี่ยวชาญ' วิเคราะห์นายกฯ ขอกลุ่มผู้ชุมนุม 'ราษฎร' ถอยคนละก้าว ย้ำการประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินเป็นการสร้างเงื่อนปม

โดย

22 ต.ค. 2563

2.5K views

จากกรณีกลุ่มผู้ชุมนุมราษฎร ได้ออกมาเคลื่อนไหวพร้อมได้ยื่นหนังสือขอให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายใน 3 วัน ทั้งนี้ในส่วนของ พลเอกประยุทธ์ ได้ออกมาแถลง อยากให้ถอยคนละก้าว แต่ล่าสุดได้มีประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงในท้องที่ กทม.แล้ว ซึ่งมีผลเที่ยงวันนี้ (22 ต.ค.63) นั้น
ล่าสุดวันนี้ (22 ต.ค.63) รายการโหนกระแสได้เชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช และ ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ อาจารย์สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพูคุยถึงเรื่องดังกล่าว 
รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพร อิสรชัย เผยว่าจากกรณีที่มีการประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงในท้องที่ กทม. จากนายกฯ นั้น ซึ่งคำว่าประกาศ ออกได้โดยอาศัยอำนาจ พ.ร.ก. แต่ทั้งนี้ พ.ร.ก.ก็ยังคงอยู่ เนื่องจากมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ตั้งแต่การเกิดการระบาดโควิด-19 ซึ่งครั้งนี้การออกประกาศ ทาง พ.ร.ก.ได้ให้อำนาจ นายกฯ ไว้ ซึ่งถ้าเกิดเหตุต่างๆ สามารถขอความเห็นชอบจากทางคณะรัฐมนตรีได้ในการขอออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิ
ทั้งนี้ถ้าเห็นมีความจำเป็นเร่งด่วน คณะรัฐมนตรีสามารถออกก็ได้ แต่ภายใน 3 วันต้องมาขอความเป็นธรรมเห็นชอบ ซึ่งถ้าไม่ดำเนินการถือว่าสิ้นสุดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้การเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีทำได้คราวละ 3 เดือน  และจะต่อได้ครั้งละ 3 เดือนไม่เกินนั้น ดังนั้นคำว่ายกเลิกประกาศ กับ ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่างกัน 
ดังนั้นการประกาศยกเลิกครั้งนี้เป็นเพียงยกเลิกประการณ์สถานการณ์ แต่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยังคงอยู่ จึงทำให้สะท้อนเห็นว่าคงเป็นสิ่งที่ นายกฯ ตอบสนองต่อคำแถลงการณ์ว่าจะถอยคนละก้าว ทั้งนี้อาจจะเป็นเรื่องของการโยงความชอบธรรมให้เป็นคำถามกับผู้ชุมนุมว่าจะถอยในก้าวใด 
ซึ่งในทางที่จริงนั้นการประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงในท้องที่ กทม. ไม่มีความจำเป็นตั้งแต่แรก ซึ่งเป็นจุดที่สร้างเงื่อนปมให้การชุมนุมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเมื่อย้อนการชุมนุมเมื่อวันที่ 15 ตุลาคมจะเห็นว่าไม่มีการพูดถึงข้อเรียกร้องแต่อย่างใด แต่วัตถุประสงค์คือให้ปล่อยตัวแกนนำ และ วันที่ 17-18 ตุลาคม ไม่มีการพูดถึงข้อเรียกร้องแต่อย่างใด มีเพียงแต่วิพากษ์วิจารณ์ถึงการสลายการชุมนุม เมื่อ 16 ตุลาคม จึงทำให้สะท้อนเห็นว่าสถานการณ์เดินไปเลื่อยๆ  ก็สร้างเงื่อนปมสะสมเช่นกันจึงก่อให้เกิดการพูดคุยเจรจรายากขึ้น ดังนั้นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่ต้น จึงเป็นเงื่อนไขจนเกิดสถานการณ์ที่ปรากฏ ซึ่งทางออกที่สำคัญของปัญหาถือต้องถอยทั้ง 2 ฝ่าย 

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ