'ศรีสุวรรณ' ร้องดีเอสไอสอบ รฟม.-คณะกก. ปมแก้ TOR รถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่อฮั้วประมูล

สังคม

'ศรีสุวรรณ' ร้องดีเอสไอสอบ รฟม.-คณะกก. ปมแก้ TOR รถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่อฮั้วประมูล

โดย

28 ก.ย. 2563

974 views

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทางยาวรวม 35 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือรฟม. งบประมาณรวมทั้งโครงการ 140,000 หมื่นล้านบาท โครงการฯแบ่งเป็นสองช่วง คือช่วงตะวันออก จากศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยไปบางกะปิอยู่ระหว่างก่อสร้าง และช่วงตะวันตก คือบางขุน นนท์ ไปถึงศูนย์วัฒนธรรมฯอยู่ระหว่างการประมูล โดยช่วงตะวันตกนี้เอง ที่ีรฟม.ปรับแก้เงื่อนไขบางประการใน TOR ทั้งที่ขายซองประมูลไปแล้ว ทำให้บริษัทผู้ซื้อซองประมูล บางราย ยื่นฟ้องศาลปกครอง ขณะที่นายศรีสุวรรณ จรรยา ยื่นดีเอสไอ ตรวจสอบเอาผิดทั้งคณะกรรมการคัดเลือก และรฟม.เพราะอาจเข้าข่ายฮั้วประมูล ที่อาจทำให้รัฐเสียหาย 
นายศรีสุวรรณ จรรยา นำเอกสารกว่าพันหน้า ที่ประกอบด้วยสำเนามติครม.สำเนาคำพิพากษาและประกาศทีโออาร์ เป็นต้น ยื่นต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อให้ พิจารณา นำเป็นคดีพิเศษ สำหรับสอบสวนเอาผิดคระรกรมการคัดเลือกตาม มาตรา 36 พรบ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ -มีนบุรี2562 และผู้ว่าการ รฟม. หลังจาก คณะกรรมการคัดเลือก เห็นชอบเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคา หรือเปลี่ยนทีโออาร์ใหม่ ทั้งที่ขายซองประกวดราคาไปแล้ว
หนึ่งในประเด็นที่นายศรีสุวรรณ ตั้งข้อสังเกตคือ บริษัทเอกชนรายใหญ่รายหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ซื้อซองประมูลด้วย ได้ยื่นคำร้องให้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทีโออาร์ ทั้งที่โครงการ เดิมผ่าน หลายขั้นตอนโดยเฉพาะมติครม.มาแล้วให้ยึดเกณฑ์ผู้เสนอผลประโยชน์สูงสุดต่อรัฐ เป็นผู้ชนะประมูล กลายเป็นเปลี่ยนแปลงให้ นำเอาข้อมูลด้านเทคนิคการก่อสร้างมาเป็น เกณฑ์การตัดสินใจร่วมกันกับการเสนอราคา ซึ่งเสี่ยงรัฐจะเสียเปรียบและอาจไม่เป็นไปตามกฎหมาย 
ก่อนหน้านี้ รฟม.เปิดให้เอกชน ซื้อเอกสารประกวดราคาเพื่อเข้าร่วมประมูลระหว่าง10-24 กรกฎาคม มีหนดยื่นซอง2563 มีบริษัทซื้อซอง 10 ราย ต่อมา 21 สิงหาคม คณะกรรมการคัดเลือกมีมติเลื่อนกำหนดยื่่นซองออกไป อีก 45 วัน คือเป็นวันที่ 6 พฤศจิกายน เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขดังกล่าวในทีโออาร์ใหม่ ตามที่บริษัทเอกชน 1 ใน 10 นี้เป็นผู้ยื่นคำร้อง ซึ่งนายศรีสุวรรณ มองว่าเงื่อนไขที่เปลี่ยน เอื้อให้นำไปสู่การแพ้ชนะมูลได้ โดยใช้ดุลพินิจคณะกรรมการ และดุลพินิจ จะเปิดช่องให้เกิดการวิ่งเต้น
ขณะที่อธิบดีดีเอสไอระบุว่ารับเรื่องดังกล่าวแล้วจะให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณาว่าเข้าข่ายที่จะนำเสนอเป็นคดีพิเศษได้หรือไม่
เมื่อ 5 วันก่อน ผู้ว่าการ รฟม.แถลงยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในทีโออาร์ สามารถทำได้โดยมีกฎหมายรองรับ ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน ไม่ก่อให้เกิดการเสียเปรียบแก่ฝ่ายใด

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ