#ประชาชนปลดแอก แจงเคลื่อนไหวเพราะการกดทับทางสังคม ภายใต้ระบอบเผด็จการ-อำนาจนิยม

เลือกตั้งและการเมือง

#ประชาชนปลดแอก แจงเคลื่อนไหวเพราะการกดทับทางสังคม ภายใต้ระบอบเผด็จการ-อำนาจนิยม

โดย

26 ก.ย. 2563

1.8K views

ที่อนุสรณ์สถาน14ตุลา ถนนราชดำเนิน กรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร จัดกิจกรรม ตลาดนัด "งานสภากับประชาชน" เพื่อเสวนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้กลไกสภาเพื่อแก้ปัญหาชุมชน จากประชาชนกลุ่มต่างๆ และอีกเวทีเสวนาในหัวข้อ "เยาวชนกับการเมือง" โดยมีแกนนำกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง ร่วมแสดงความเห็น ซึ่งตัวแทนกลุ่มประชาชนปลดแอก บอกว่า สาเหตุที่ตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองเพราะการกดทับทางสังคมภายใต้ระบอบเผด็จการ 
นาย ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี หรือ ฟอร์ด ตัวแทนกลุ่มประชาชนปลดแอก น.ส. เบญจมาภรณ์ นิวาส กลุ่มนักเรียนเลวและนายธนวัฒน์ วงค์ไชย ผู้จัดงาน "วิ่งไล่ลุง" ร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนา "เยาวชนกับการเมือง" ซึ่งนายทัตเทพ กล่าวว่า การออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นเพราะการกดทับทางสังคมภายใต้ระบอบเผด็จการ รวมถึง ปัญหาทางสังคมที่สะสมมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทางการเมืองช่วงปี 2556 -2557 ทำให้มีความสนใจทางการเมืองมากขึ้น และได้เรียนรู้กับปัญหากับอำนาจรัฐจนเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองในมหาวิทยาลัย จนถูกปลดออกจากการเป็นสภานิสิตจุฬาฯ  และตั้งเป็นกลุ่มเยาวขึ้นปลดแอกขึ้นเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่ปี2562 ถูกคุกคามตามดำเนินคดี หลายข้อหา และมีการรวมตัวครั้งใหญ่ขึ้น ทำให้การต่อสู้ขยายต่อไปเรื่อยๆทั่วประเทศ เพื่อต้องการรีเซ็ตรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และให้เกิดการเลือกตั้งใหม่ 
ส่วนเวทีเสวนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้กลไกสภาเพื่อแก้ปัญหาชุมชน จากประชาชนกลุ่มต่างๆ นายบารมี ชัยรัตน์ ผู้ประสานงานสมัชชาคนจน กล่าวว่า กลไกสภาที่ผ่านมามีปัญหากับประชาชนมาก เมื่อมีการเสนอกฎหมายหรือปัญหาร้องเรียนกลับมีการดึงเรื่องไว้ ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงกลไกของสภาได้ หลายกรรมาธิการในสภาไม่ได้แก้ไขปัญหาอย่างตรงไปตรงมา และส.ส.ฝ่ายรัฐบาลในกรรมาธิการ ไม่มีการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้ กลับปกป้องฝ่ายรัฐบาล ดึงเรื่องของประชาชนไม่ให้ไปถึงรัฐบาล นอกจากนี้ กรรมาธิการแต่ละชุดมักจะตั้งที่ปรึกษาซึ่งเป็นคนที่ เอกชนหรือส่วนราชการส่งมาต่อรองผลประโยชน์ จนเกิดเป็นข่าวเรียกรับผลประโยชน์ในสภา เหมือนมานั่งเป็นมาเฟีย 
ด้านเจ้าหน้าที่รัฐสภา ซึ่งเป็นฝ่ายเลขาของกรรมาธิการกิจการสภาที่มาร่วมชี้แจงว่าปัจจุบันรัฐสภาถูกบังคับให้เปิดเผยข้อมูลตามรัฐธรรมนูญปี60 แต่ระเบียบของสภายังไม่ออกมาล้อตามทำให้ไปติดล็อกตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารปี2540 ทำให้ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลการทำงานของสภาได้ทั้งหมดให้ประชาชนทราบได้

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ