ถอดรหัส "โค้งร้อยศพ" บนถนนรัชดา ดีเจหนุ่มซิ่งเก๋งเสยเสาไฟสังเวยชีวิตอีกราย

อาชญากรรม

ถอดรหัส "โค้งร้อยศพ" บนถนนรัชดา ดีเจหนุ่มซิ่งเก๋งเสยเสาไฟสังเวยชีวิตอีกราย

โดย

24 ก.ย. 2563

18.9K views

ดีเจก๊อง ขับรถพุ่งชนเสาไฟฟ้าเสียชีวิตบริเวณโค้งร้อยศพ เชื่อถนนลื่นทำให้รถเสียหลัก
เจ้าหน้าที่กู้ภัย ใช้เครื่องตัดถ่าง นำร่างของ นายอรรณพ หรือ ดีเจก๊อง พูนศรีพัฒนา ออกจากรถ หลังขับรถเก๋งโตโยต้าอัลติส พุ่งชนเสาไฟฟ้าแรงสุง บริเวณทางโค้งร้อยศพ ฝั่งตรงข้ามศาลอาญารัชดา โดยร่างของดีเจก๊อง กระเด็นจากเบาะคนขับไปเบาะท้ายรถ สภาพศพคอหัก กระโหลกศรีษะแตก ภายในรถพบบัตรประจำตัวของผู้ตายออกให้โดยสภาสถาปนิก และ เครื่องเล่นอิเลคทรอนิกของดีเจ 1 ชุด
จากการสอบสวนทราบว่า ผู้ตายเป็นดีเจเปิดเพลงตามสถานบันเทิง ก่อนเกิดเหตุขับรถ เพื่อจะไปทำงานที่ร้านซอยสุขุมวิท 5 แต่จุดเกิดเหตุมีฝนตกสภาพถนนลื่น ทำให้ผู้ตายเสียหลักขับรถพุ่งชนเสาไฟฟ้า ส่วนที่เข็มไมล์วัดความเร็วอยู่ที่ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าเข็มไมล์อาจตีกลับหลังประสพอุบัติเหตุ ส่วนผู้ตายจะเมาสุราหรือไม่ อยู่ระหว่างรอผลชันสูตรพลิกศพจากแพทย์
ทีมข่าวลงพื้นที่บริเวณโค้งร้อยศพ พบว่า มีการติดตั้งแถบเตือนเพื่อลดอุบัติเหตุ รวมถึงมีป้ายไฟติดตั้งให้ทราบว่าเป็นทางโค้ง ซึ่งในช่วงกลางวันยังพอมองเห็นเส้นทางชัดเจน

ทั้งนี้ชาวบ้านบอกว่า อุบัติเหตุที่จุดนี้จะเกิดบ่อยช่วยกลางคืนและหากฝนตกก็จะเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น ส่วนสาเหตุมีหลายปัจจัย ทั้ง สภาพถนนที่ไม่รองรับหากรถที่มาด้วยความเร็ว แสงสว่างไม่เพียงพอ และอยากให้เพิ่มป้ายสัญญาณเตือนให้เห็นว่าเป็นทางโค้ง เพื่อลดอุบัติเหตุ

ทั้งนี้ จากอุบัติเหตุบนถนนรัชดาภิเษกบริเวณด้านหน้าศาลอาญา จนถูกขนานนามว่าเป็นโค้งร้อยศพ เราลองมาดูว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้นและเกิดเหตุบ่อยครั้ง
ถนนช่วงด้านหน้าศาลอาญา หรือที่เรียกกันว่าโค้งร้อยศพ ถือเป็นจุดอันตรายแห่งหนึ่งใน กทม. โดย ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีอุบัติเหตุถึง 101 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 47 คน และเสียชีวิต 5 คน
เฉพาะกันยายนนี้ มีผู้เสียชีวิตถึง 4 คน จากสามเหตุการณ์ โดยเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นในวันที่ 16 ก.ย. ก่อนถึงซอยอาภาริรม หน้าสำนักงานคณะกรรมการประกันภัย มีผู้เสียชีวิต 1 คน  ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 ก.ย. ใกล้กรมส่งเสริมการส่งออก มีผู้บาดเจ็บ 1 คน และเสียชีวิต 2 คน  ครั้งที่สามเมื่อคืนนี้ ตรงข้ามปั๊ม ปตท. มีผู้เสียชีวิต 1 คน
หากดูลักษณะกายภาพ โค้งนี้มีความยาวถึง 2 กิโลเมตร แต่ขณะเดียวกันโค้งไม่ลาดชันเพียงพอที่จะรองรับการใช้ความเร็ว หรือที่เรียกกันว่าโค้งไม่รับ จึงมีการจำกัดความเร็วที่ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ระบุว่าโค้งดังกล่าวมีความยาวมาก จนบางครั้งคนขับคิดว่าเป็นทางตรงจึงช้ความเร็ว ขณะที่กายภาพของถนนม่สามารถรองรับได้ การป้องกันจึงอยู่ที่การจำกัดความเร็วซึ่งก็มีทั้งป้าย รวมถึงตัวเตือนความเร็วบนพื้นถนน
ส่วนกรณีที่มีการตั้งคำถามเป็นไปได้หรือไม่ในปรับระดับความลาดชัน คุณหมอธนพงษ์บอกว่า เนื่องด้วยเป็นเขตเมืองจึงไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้ความเร็ว ซึ่งหากมีการปรับความลาดชันใหม่อาจจะเสี่ยงเรื่องการควบคุมรถ รวมไปถึงหากมีฝนตกน้ำไปท่วมขังช่วงเกาะกลาง ก็ทำให้รถเหิน หรือเกิดอุบัติเหตุได้




สามารถรับชมทางยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/ZYZ-_IO0nOc

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ