ถอดบทเรียน '6 ตุลา' กับ '19 กันยา' ความเหมือน-ความต่าง ระวังประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

เลือกตั้งและการเมือง

ถอดบทเรียน '6 ตุลา' กับ '19 กันยา' ความเหมือน-ความต่าง ระวังประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

โดย

16 ก.ย. 2563

1.1K views

จับตาการชุมนุมในวันที่ 19 กันยายน ของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จะถูกนำไปเป็นเงื่อนไขไปสู่ความรุนแรงและการรัฐประหาร รวมทั้งมีการยกเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 มาแสดงความห่วงใยไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย 
ข่าว 3 มิติ พูดคุยกับนักวิชาการที่จัดทำโครงการบันทึก 6 ตุลา ซึ่งถือเป็นหอจดหมายเหตุออนไลน์ ให้สามารถสืบค้นข้อมูล จนทำให้มีการนำมาพูดถึงมากขึ้นในกลุ่มนักศึกษาปัจจุบัน โดยเฉพาะวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด ที่มีความเหมือนกัน และยังมีความต่าง ที่นักวิชาการเห็นว่ายังไม่สามารถนำมาใช้เป็นเหตุผลในการปราบปรามประชาชนได้ 
รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ริเริ่มและหัวหน้าโครงการบันทึก 6 ตุลา 19 ซึ่งเป็นเหมือนหอจดหมายเหตุออนไลน์ บันทึกเหตุการต่อสู้ทางการเมืองของขบวนการนักศึกษาที่ถูกปราบปรามที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งของการเมืองไทย เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างกับการเคลื่อนไหนองขบวนการนักศึกษาปี 2563 
พบว่าข้อเรียกร้องทั้งสองขบวนการนักศึกษา เหมือนกันในเชิงระบบ ที่ขับไล่เผด็จการทหาร และปัญหาที่ก่อตัวมาจากความเหลื่อมล้ำในสังคม แต่ในช่วงปี 2516-2519 เป็นการเรียกร้องแบบถอนรากถอนโคนมากกว่าเพราะมีอิทธิพลของแนวคิดสังคมนิยมคอมมิวนิวต์มาด้วย ขณะที่ปัจจุบันต้องการระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยที่พระมหากษัตริย์นั้นอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ 
ในขณะที่ทัศนะของผู้ปกครองประเทศ ยังมองว่าขบวนการนักศึกษา ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบ จึงยังใช้วิธีการในรูปแบบเดิม มาโจมตีนักศึกษาเหมือนในอดีต จึงเห็นการโฆษณาชวนเชื่อ และการเกิดขึ้นของมวชนฝ่ายขวา เหมือนเหตุการ 6 ตุลา 19 จนเกิดการเผชิญหน้า และการประหัตประหารกันเองในหมู่ประชาชนที่คิดต่างกัน
ผลพวงจากการัฐประหารในปี 2549 และ 2557 มาจนถึงการใช้อำนาจของรัฐบาลในยุค คสช. ที่เด่นชัดเรื่อง วัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาสนใจ เหตุ 6 ตุลา 19 ผ่านโครงการบันทึก 6 ตุลา ที่สะท้อนให้เห็นด้วยว่า จนถึงวันนี้ กว่า 43 ปียังไม่สามารถหาคนผิดจากเหตุปราบปรามประชาชนในครั้งนั้นได้
รศ.ดร.พวงทอง เห็นว่า ไม่สามารถนำเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 มาเทียบเคียงได้ทุกกรณี เพราะบริบททางสังคมแตกต่างกัน รวมถึงการสื่อสารของคนรุ่นใหม่ผ่านโซเซียลมีเดีย และประเด็นการเคลื่อนไหวที่ไม่ได้เป็นหนึ่งเดียว แต่ทีความเป็นไปเองสูงมาก จนเชื่อว่าไม่มีใครอยู่เบื้องหลังได้ และสถานการณ์ยังไม่มีเงื่อนไขไปสู่การใช้ความรุนแรงหรือเป็นข้ออ้างไปสู่การรัฐประหารได้
รศ.ดร.พวงทอง ย้ำว่า วัตถุประสงค์สำคัญของโครงการบันทึก 6 ตุลา เพื่อให้เห็นว่า การสร้างความเกลียดชังในหมู่ประชาชนที่นำมาซึ่งความรุนแรงและความสูญเสีย เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นอีกในสังคมไทย และรัฐไม่มีสิทธิ์ใช้ความรุนแรงกับประชาชน

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ