เอายังไงดี? คนถือใบขับขี่ตลอดชีพ สรุปต้องไปทำใหม่ไหม เปิดสถิติคนแก่ขับรถแย่จริงหรือ?

เศรษฐกิจ

เอายังไงดี? คนถือใบขับขี่ตลอดชีพ สรุปต้องไปทำใหม่ไหม เปิดสถิติคนแก่ขับรถแย่จริงหรือ?

โดย

14 ส.ค. 2563

963 views

มีประเด็นเรื่องของใบขับขี่ตลอดชีพ ที่กรมการขนส่งทางบก มีแนวคิดที่จะเรียกผู้มีใบอนุญาตขับรถแบบตลอดชีพทั้งหมดมาทดสอบสมรรถภาพใหม่

ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก บ้างก็ว่ากรมการขนส่งริดรอนสิทธิ์ผู้ขับขี่เดิม, บ้างก็ตั้งคำถามว่ากรมการขนส่งทางบกรู้ได้อย่างไรว่า ผู้ที่ถือใบขับขี่ตลอดชีพ เขาไม่มีสมรรถภาพและความพร้อมในการขับขี่ เอาอะไรมาวัด เอาอะไรมาตัดสิน ทำหใเรื่องนี้ทำเอาคำค้นว่า “ใบขับขี่ตลอดชีพ” ขึ้นเทรนด์การค้นหาอันดับต้นๆ บน Google

สำหรับไอเดียนี้มาจากการที่ทางกรมการขนส่งทางบก มองว่า กรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางถนน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผู้ขับรถมีอายุสูงถึง 96 ปี จนมีการตั้งข้อสงสัยถึงความพร้อมของผู้ขับรถที่สูงอายุ ซึ่งที่ผ่านมามีสถิติอุบัติเหตุหลายครั้งเกิดขึ้นจากผู้สูงอายุที่แม้ว่า จะมีใบอนุญาตขับขี่แบบตลอดชีพ แต่สภาพร่างกายเช่นการมองเห็น และการได้ยิน อาจไม่สมบูรณ์จนก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

ทางกรมการขนส่งทางบก จึงมีแนวคิดที่จะเรียกผู้ถือใบอนุญาตขับขี่แบบตลอดชีพ มาแสดงตัวที่ขนส่งฯ ทั่วประเทศ หากพบว่าผู้ขับขี่รายใด มีสมรรถภาพร่างกายพร้อม ก็จะสามารถใช้ใบอนุญาตขับขี่นั้นต่อไป แต่ถ้าผู้ถือใบอนุญาตรายใด สภาพร่างกายไม่สามารถขับรถได้แล้ว ก็จะพิจารณายกเลิกใบอนุญาตของบุคคลนั้น

เรื่องนี้มีเสียงวิพากวิจารณ์ไปทั่วประเทศ แม้จะมีเสียงเห็นด้วยอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็ออกมาคัดค้าน พร้อมตั้งคำถามว่า กลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจริงๆ หรือเปล่า

จากการตรวจสอบข้อมูลทางสถิติ ซึ่งไปพบรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม ปี 2561 ซึ่งจำแนกตามกลุ่มอายุ พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า

กลุ่มผู้ใช้รถใช้ถนนที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากที่สุดไม่ใช่กลุ่มผู้สูงอายุ แต่กลับเป็นช่วงอายุที่ต่ำกว่า 15 ปี เป็นกลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุด ซึ่งจากสถิตินี้ชัดเลยครับว่า ต้นเหตุส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น

รองลงคือ ช่วงอายุ 15-24 ปี, 26-34 ปี, 35-64 ปี และสุดท้ายคือช่วงอายุที่มากกว่า 65 ปี

และสถิติคดีอุบัติเหตุการจราจรทางบก ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุไว้ชัดเจนว่า ต้นตออุบัติเหตุไม่เกี่ยวกับอายุ ไม่เกี่ยวว่าใครแก่ใครเด็ก ไม่เกี่ยวว่าใครมีใบขับขี่ประเภทไหน แต่ส่วนใหญ่เกิดจากเมาแล้วขับ, เสพสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท, ใช้โทรศัพท์มือถือ, ขับรถเร็ว และคึกคะนอง

ผ่านไปแค่วันเดียวหลังโดนออกมาถล่มชุดใหญ่จากหลายฝ่าย กรมการขนส่งทางบก ต้องรีบออกมาชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงแค่แนวคิดเท่านั้น ไม่ยึดคืนใบอนุญาตขับรถตลอดชีพ และไม่เรียกให้มาทดสอบขับรถใหม่อย่างแน่นอน เรียกได้ว่า รูดม่านพับโครงการไปเรียบร้อย

อย่างไรก็ตาม ใบขับขี่ตลอดชีพยกเลิกการอนุญาตไปตั้งแต่พ.ศ.2546 เหลือมีอายุยาวสุด 5 ปี

รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/LRA0nh4QF-k

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ