พาชมมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 ชูจุดเด่นนวัตกรรมรับชีวิตวิถีใหม่ยุคโควิด

เทคโนโลยี

พาชมมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 ชูจุดเด่นนวัตกรรมรับชีวิตวิถีใหม่ยุคโควิด

โดย

2 ส.ค. 2563

3.6K views

มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 เริ่มขึ้นแล้ววันนี้เป็นวันแรก โดยได้รวบรวมเอางานผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่พร้อมนำมาใช้งานจริงจำนวนกว่า 600 ชิ้น มานำเสนอผ่านความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเน้นไปที่นวัตกรรมชนิดใหม่ๆ ที่จะมารองรับสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ เพื่อตอบโจทย์การดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการจัดเวทีเสวนาขึ้น ในหัวข้อสำคัญจากการพลิกวิกฤตโควิด-19 ด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ 
อัตราการติดเชื้อโควิด-19 ที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ถึง 1 ล้านคน ภายใน 4 วัน ถูกยกเป็นสาระสำคัญของเวทีเสวนา พลิกวิกฤตโควิด-19 ด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ ภายในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่างๆ มากมาย แต่สิ่งหนึ่งในนั่น คือโอกาสสำคัญของการพัฒนาด้านนวัตกรรมอย่างก้าวกระโดด 
วิทยากรจาก 3 มหาวิทยาลัยที่ผลิตนวัตกรรมด้านต่างๆ เพื่อสู้กับโควิด 19 มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยมหิดล มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลและการพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน จนเกิดเป็นความสำเร็จมากมาย ซึ่งสามารถนำไปใช้ต่อยอดองค์ความรู้หากมีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นได้ในอนาคต
Shield + and shield เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากแนวคิด CU innovation hub ที่เวทีเสวนาได้นำเสนอ ผ่านการเป็นสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในชื่อ บริษัท เเนบโซลูท จำกัด เป็นสเปรย์ทางเลือกที่มีส่วนผสมของโพลีเอสเตอร์ นำมาใช้ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพียงพ่นลงบนหน้ากากผ้า
นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมกว่า 600 ชิ้น ได้รับการคัดเลือกมานำเสนอภายใต้แนวคิด วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งกว่า 100 ชิ้น เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ผลิตโดยฝีมือนักวิจัยไทย ภายในช่วง 6 เดือน หลังโควิด-19 แพร่ระบาดครั้งแรกในไทย ทั้งอุปกรณ์ป้องกัน อุปกรณ์ทางการแพทย์ และหุ่นยนต์ทางการแพทย์
มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ ถึง 6 สิงหาคมนี้ ที่โรงแรมเซ็นทราแกรนด์และบางกอกคอนเว็นชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิร์ล ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ผ่าน 2 ช่องทาง ทั้ง แบบรับชมออนไลน์ ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ แบบเข้างาน ซึ่งต้องลงทะเบียนล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ โดยงดการลงทะเบียนหน้างานและวอร์คอินทุกกรณี

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ