'อรรถวิชช์' จวก 'พีต้า' เหยียดวัฒนธรรมไทยลิงเก็บมะพร้าว ชี้! โลกตะวันตกก็ใช้หมูหาเห็ดเหมือนกัน

สังคม

'อรรถวิชช์' จวก 'พีต้า' เหยียดวัฒนธรรมไทยลิงเก็บมะพร้าว ชี้! โลกตะวันตกก็ใช้หมูหาเห็ดเหมือนกัน

โดย

8 ก.ค. 2563

2.9K views

จากกรณีประเทศไทยถูกกล่าวหาว่าทรมานลิงเก็บมะพร้าว จนห้างฯในต่างประเทศแบนสินค้าจากมะพร้าวของไทย เช่น กะทิ และน้ำมันมะพร้าว นั้น
ล่าสุดนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า โพสต์เฟซบุ๊ก มีใจความว่า "ลิงไทยเก็บมะพร้าว vs หมูฝรั่งเก็บเห็ดทรัฟเฟิลเป็นวิถีทางวัฒนธรรม ที่ควรเคารพกัน อย่าเหยียดวัฒนธรรมกัน คนกับลิง ฝึกฝน ผูกพัน ทำงานร่วมกันเพื่อเก็บมะพร้าว และมะพร้าวก็เป็นส่วนผสมสำคัญในอาหารไทยที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก เช่น ต้มข่าไก่ แกงเขียวหวาน. ไทยมีมาตรฐานการฝึกลิงตั้งแต่โรงเรียน จนถึง วิทยาลัยฝึกลิงเพื่อการเกษตร"
"ในโลกตะวันตก การนำหมูไปช่วยขุดหาเห็ดทรัฟเฟิล ก็มีมาช้านานเช่นกัน กลิ่นของเห็ดนี้เป็นส่วนปรุง อาหารให้อร่อยมากขึ้นในหลายเมนูตั้งแต่ ซุป สลัด ถึงอาหารจานหลัก การที่ องค์กรพิทักษ์สัตว์ (PETA) รณรงค์เรื่องการทำร้ายสัตว์ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่ครั้งนี้ถึงขนาดรณรงค์ให้หลายประเทศแบนสินค้าไทยที่มีมะพร้าวไทยผสมออกจากร้าน มันโหดร้ายและเหยียดวัฒนธรรมกันมากเกินไป ในโลกยุคใหม่ที่ควรเคารพในเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่หลากหลาย" เลขาธิการพรรคกล้า กล่าว
ด้านายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานสภาผู้ส่งออกฯ กล่าวถึงกรณีกระแสต่อต้านการผลิตภัณฑ์มะพร้าวไทย เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ จะเข้าไปให้ข้อมูลและร่วมหารือกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหารือแนวทางทำความเข้าใจกับต่างชาติในเรื่องการใช้แรงงานลิงเก็บมะพร้าว เนื่องจากการกล่าวหาในเรื่องดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชุมชน โดยยืนยันว่า ปัจจุบันยังไม่มีผลกระทบทางการค้ามาก มีเพียงโมเดิร์นเทรดของอังกฤษ เพียง 3 ราย เท่านั้นที่นำสินค้าไทยออกจากชั้นวางจำหน่ายสินค้า
มองว่าสิ่งที่ต้องทำคือ ต้องเร่งสื่อสารให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจนว่าการทารุณสัตว์เป็นอย่างไร เนื่องจากหากไม่เร่งสื่อสารออกไปให้ถูกต้องอาจทำให้ปัญหาลุกลามไปในประเทศอื่นๆ จนทำให้เกิดปัญหาได้ ทั้งนี้ ในพื้นที่ภาคใต้ ลิง เปรียบเหมือนสัตว์เลี้ยงในบ้าน เช่นเดียวกับ สุนัข หรือแมว การใช้ลิงเก็บมะพร้าวในพื้นที่ภาคใต้ถือเป็นวิถีชุมชุนและเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ดังนั้นต้องทำให้ต่างชาติเห็นว่าไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการต่อต้านการทารุณกรรมสัตว์อันดับต้น ๆ ของโลก และในหลายปีที่ผ่านมามีความร่วมมืออย่างดีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาพันธุ์มะพร้าวให้เป็นต้นเตี้ย เพื่อให้คนสามารถสอยเก็บได้
อย่างไรก็ตามมองว่า สาเหตุที่ทั่วโลกเริ่มให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าวอาจมาจากการเติบโตของมะพร้าวส่งไทยในปี 62 ขยายตัวอย่างก้าวกระโดด กว่า 115% เมื่อเทียบกับ 8 ปีที่แล้ว
รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/Yr0xGixAonE

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ