สตง.เรียกผู้เกี่ยวข้องแจงปมก่อสร้างโรงงานแปรรูปยางพารา จ.บึงกาฬ ทุ่มงบเกือบ 200 ล้านบาท แต่ใช้งานไม่ได้

สังคม

สตง.เรียกผู้เกี่ยวข้องแจงปมก่อสร้างโรงงานแปรรูปยางพารา จ.บึงกาฬ ทุ่มงบเกือบ 200 ล้านบาท แต่ใช้งานไม่ได้

โดย

30 มิ.ย. 2563

1.3K views

ผู้ตรวจเงินแผ่นดินภาคที่ 6 อุดรธานี ลงพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ติดตามตรวจสอบโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา ด้วยงบประมาณเพิ่มเติของกลุ่มจังหวัด 193 ล้านบาท พร้อมตั้งข้อสงสัยกรณีการแยกสัญญาระหว่างโรงงาน กับครุภัณฑ์ ออกเป็นหลายสัญญา ทั้งที่และโรงงานควรจะเป็น 1 สัญญา ขณะที่จังหวัดบึงกาฬ นำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจง ซึ่งพบข้อเท็จจริง ว่าโรงงานมีการเปลี่ยนแก้แบบหลายครั้งก่อนจะเดินหน้าก่อสร้างได้ และโรงงานต้องการตั้งบนที่ดินสาธารณะ แต่เพราะไม่ผ่านประชาพิจารณ์ และเป็นโรงการเร่งด่วน จึงเปลี่ยนมาตั้งบนที่ดินของชุมนุมสหกรณ์ฯ
นายสนิท ชาวไทย ผู้ตรวจเงินแผ่นดินภาคที่ 6 อุดรธานี นำเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เข้ารับฟังข้อชี้แจงจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา ด้วยงบประมาณเพิ่มเติมของกลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนบน ซึ่งได้รับอนุมัติงบประมาณจากกลุ่มจังหวัดจำนวน 193 ล้านบาท เมื่อปี 2560 และขณะนี้โรงงานสร้างแล้วเสร็จ 5 โรง ยังเหลืออีก 3 โรงที่มีกำหนดแล้วเสร็จภายในกันยายนปีนี้
หนึ่งในข้อสงสัยที่ข่าว 3มิตินำเสนอก่อนหน้านี้คือโรงงานสร้างแล้วเสร็จ 5 โรง เช่นโรงงานน้ำยางข้น /โรงงานสกิมน้ำยาง / โรงงานผลิตหมอนยางพารา และหมอนยางพาราเป็นต้น แต่กลับไม่ระบบน้ำดีในโรงงาน ระบบน้ำเสียโรงงานและระบบไฟฟ้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ ชี้แจงวันนี้ว่า มีการตั้งงบประมาณไว้แล้ว แต่ไม่มีผู้รับจ้างทำให้ ต้องส่งงบประมาณคืน โดยไม่ได้สร้าง
ซึ่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ระบุตอนหนึ่งว่าการที่โรงงานใช้งบประมาณไปแล้ว แต่ไม่สามารถประโยชน์ได้ครบถ้วน ตามเป้าประสงค์ ก็ถือเป็นหนึ่งแนวทางการตรวจสอบที่เรียกว่า เป็นการตรวจสอบสัมฤทธิ์ผลของการใช้งบประมาณ และหากตรวจสอบไปแล้วพบการผิดปกติ ที่อาจมีการทุจริต ก็ส่งต่อไปยัง ปปช. และ ปปท.ได้
อย่างไรก็ตาม โยธาธิการจังหวัดบึงการ ชี้แจงว่าหลังจาก ย้ายมารับตำแหน่งได้ 6 เดือนจึงทราบว่าสำนักงานได้รับคำสั่งให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการกำกับตรวจสอบสัญญาจ้าง ซึ่งได้เข้าไปตรวจสอบจนพบว่ามีปัญหาหลายด้าน เช่นแบบแปลนโรงงานบางโรง ไม่ตรงกันระหว่างโครงสร้างขนาดกับขนาดเล็ก อีกทั้งพบว่าสภาพดินพื้นที่โครงการ อาจไม่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักโรงงานแบบฐานเรียบ หรือฐานกว้าง จึงปรับแบบใหม่ให้ตอกเสาเข็ม ซึ่งต้องประสานผู้ออกแบบรายเดิม นอกจากนี้ ยังพบว่าบางโรงงาน มีบางส่วนตั้งอยู่บนคลองน้ำ ซึ่งเสี่ยงจะเกิดการทรุดตัว จึงต้องออกแบบใหม่ จึงใช้เวลานาน
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สตง.ตั้งข้อสงสัยว่าเหตุใด โครงการนี้ควรมี 1สัญญา หรือหากมี 6 โรงงาน ก็ควรมี 6 สัญญา แต่กลับพบว่า มีการแยกสัญญากลายเป็น 1 โรงงาน เป็น 1สัญญา ส่วนครุภัณฑ์หรือเครื่องจักร ก็แยกเป็น 1 สัญญา ทำให้โรงงาน 6 โรง กลายเป็น 12 สัญญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ไม่อาจอธิบายได้เช่นกันว่า เหตุใดผู้รับผิดชอบขณะนั้น จึงแยกสัญญา ซึ่ง สตง.ระบุว่าจะเข้าไปตรวจสอบรายละเอียดซ้ำ
ขณะที่บางหน่วยงานระบุว่า ก่อนหน้านี้ โรงงานวางแผนสร้างบนที่ดินสาธารณะ ซึ่งอยู่ไม่ไกลกัน แต่ไม่ผ่านประชาพิจารณ์ จึงต้องมาสร้างบนที่ดินของชุมนุมสหกรณ์ ซึ่งเป็นที่ดินที่ถมดินใหม่ จึงอาจทรุดตัว กรณีดังกล่าว มีการตั้งข้อสังเกตเช่นกันว่า เป็นการเตรียมการที่ไม่มีความพร้อมแล้วเสนอโครงการจนอาจไม่สำเร็จผลหรือไม่ แต่เจ้าหน้าที่ในจังหวัดก็ชี้แจงว่า เป็นโครงการเร่งด่วน ที่แทบไม่มีเวลาเตรียมตัวหรือเตรียมโครงการให้พร้อมเหมือนโครงการงบประมาณทั่วไป เพราะกรณีนี้เป็นเร่งด่วน ผู้ตรวจเงินแผ่นดินภาคที่ 6 ระบุว่า หลังจากลงพื้นที่วันนี้ จะนำข้อมูลความเห็นไปเสนอจัดทำรายงานให้แล้วเสร็จภายในกันยายนนี้
ในระหว่างการชี้แจงต่อ สตง.ในวันนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่างนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาโดยเฉพาะระบบไฟ น้ำใช้โรงงานและระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งขณะนี้ชุมนุมสหกรณ์ในฐานะผู้จะทำสัญญาเช่า ได้เสนอของบอุดหนุนจาก การยางห่งประเทศไทย 62 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการพิจารณา 

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ