กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดพิจิตร และจังหวัดพิษณุโลก

พระราชสำนัก

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดพิจิตร และจังหวัดพิษณุโลก

โดย

19 มิ.ย. 2563

1.7K views

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่จังหวัดพิจิตรและจังหวัดพิษณุโลก

เวลา 9 นาฬิกา 37 นาที วันนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังโครงการศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตร สิรินธร ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ทรงติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฯ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พัฒนาที่ดินที่นางจรัสศรี จินดาสงวน น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย จำนวน 91 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา จัดตั้งโครงการฯ พร้อมพระราชทานชื่อโครงการดังกล่าวเมื่อปี 2550 เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตร สถานที่ศึกษาดูงาน และถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจ และสนองพระราชดำริ “...ให้ขยายผลการดำเนินงานของโครงการฯ ไปสู่เกษตรกรให้มากยิ่งขึ้น…”
โอกาสนี้ ทรงติดตามผลการดำเนินงานของ ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน บ้านบึงประดู่ และ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตและขยายพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลงิ้วราย อำเภอตะพานหิน ซึ่งเป็นจุดขยายผลการเรียนรู้ของโครงการฯ โดยโครงการฯ ได้เข้าไปสนับสนุนการดำเนินงาน ส่งผลให้เกษตรกรรู้วิธีทำการเกษตรปลอดภัย ถูกวิธี สามารถลดต้นทุนการผลิต ส่งผลให้เกษตรกรมีสุขภาพดีขึ้น สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวจำหน่ายให้แก่เกษตรกรตามมาตรฐานของกรมการข้าว ปัจจุบันมีสมาชิก 64 คน และ 109 คน ตามลำดับ และทรงติดตามผลการดำเนินงานของ "กลุ่มเกษตรกรขยายผล ตำบลเนินมะกอก" ซึ่งโครงการฯ ได้ดำเนินการสนองพระราชดำริในการขยายผลสู่เกษตรกร โดยการฝึกอบรมการปลูกพืชผักแบบปลอดภัยจากสารพิษ และน้ำหมักชีวภาพ ให้แก่เกษตรกรบริเวณรอบศูนย์ฯ 9 ตำบล 72 หมู่บ้าน ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถสร้างรายได้จากการขายผลผลิตผ่านสื่อ ONLINE รายได้ประมาณ 200-300 บาทต่อวัน รวมทั้งขยายผลไปสู่เพื่อนร่วมชุมชนอื่น โอกาสนี้ ทรงมีพระดำรัสทรงห่วงใยเด็ก เยาวชน และชุมชน พร้อมพระราชทานพระราชดำริให้ มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงาน กปร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณางานส่งเสริมการศึกษา ทรงเน้นให้เด็กและเยาวชนสามารถอ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น เมื่ออ่านออกเขียนได้แล้ว ก็สามารถอ่านหาความรู้ในเรื่องอื่นๆ ต่อไปได้ รวมถึงการทำการเกษตร การผลิตเมล็ดพันธุ์พืช เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้และมีอาหารบริโภคในครัวเรือน
ในการนี้ ทอดพระเนตรจุดจำหน่ายผลผลิตในโครงการฯ จำหน่ายพืชผักและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากวัตถุดิบในโครงการฯ เช่น มะนาวแป้น มะเขือ นม และมะม่วงกวน แล้วทอดพระเนตรแปลงเกษตรในโครงการฯ โดยภายในโครงการฯ มีจุดเรียนรู้ 6 จุด ได้แก่ การปลูกพืชผักปลอดภัย , การปลูกข้าวและการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี, การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ, การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ , การเลี้ยงโคนม ตลอดจนการปลูกพันธุ์ไม้ผลพันธุ์ดีและแปลงไม้ผลแบบผสมผสาน จากนั้น ทรงเยี่ยมราษฎรรอบโครงการฯ ที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ


เวลา 13 นาฬิกา 23 นาที สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมและติดตามความก้าวหน้าโครงการทหารพันธุ์ดี ที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ กองพันซ่อมบำรุงที่23 กองบัญชาการช่วยรบที่3 อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 
โอกาสนี้ ทรงเปิดอาคารบรรจุเมล็ดพันธุ์พืชพระราชทาน “เพื่อนช่วยเพื่อน” พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมูลนิธิชัยพัฒนาและกองทัพภาคที่ 3 นำอาคารโรงซ่อมเดิม มาปรับปรุงให้เป็นอาคารบรรจุเมล็ดพันธุ์ แล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน 2561 ประกอบด้วย ห้องบรรจุภัณฑ์ เครื่องบรรจุภัณฑ์ และห้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ได้ถึง 3,200 กิโลกรัม นาน 2 ปี เมล็ดพันธุ์ที่บรรจุซอง เป็นเมล็ดพันธุ์พืชพระราชทาน รวม 18 ชนิด อาทิ กระเจี๊ยบเขียว มะเขือเปราะเจ้าพระยา ถั่วฝักยาวสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1 บวบเหลี่ยม น้ำเต้า แตงกวา กะเพราแดง มะเขือเทศจักรพันธุ์ เบอร์ 1 พริกขี้หนู และคะน้า มาจากโครงการทหารพันธุ์ดีในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3 จำนวน 4 หน่วย ได้แก่ โครงการทหารพันธุ์ดีค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ กองพันซ่อมบำรุงที่ 23 กองบัญชาการช่วยรยที่3 โครงการทหารพันธุ์ดีค่ายพีอขุนผาเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ กองพลทหารม้าที่1 โครงการทหารพันธุ์ดีค่ายสุริยพงษ์ จังหวัดน่าน มณฑลทหารบกที่38 และโครงการทหารพันธุ์ดีค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จังหวัดพิษณุโลก กองพลพัฒนาที่3 คิดเป็นน้ำหนักรวม 638.47 กิโลกรัม สามารถบรรจุซองพระราชทานได้จำนวนกว่า 393,000 ซอง  
ใน 1 ซองเมล็ดพันธุ์พระราชทาน สามารถปลูกและขยายพันธุ์เป็นพืชผักนั้นๆ ได้จำนวนมาก นำไปบริโภคได้ปลอดภัย และนำไปขยายพันธุ์ต่อได้ดีในฤดูกาลต่อๆไป เป็นการสนองพระราชดำริในการผลิตและรวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชสำรองไว้ใช้ในการเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ หรือยามวิกฤติ เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม ได้บรรจุเมล็ดพันธุ์พระราชทาน ส่งต่อไปให้โครงการทหารพันธุ์ดี สู้โควิด-19 นำไปปลูกช่วยเหลือกำลังพล ครอบครัวทหารและประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี อุตรดิตถ์ สกลนคร สระแก้ว และพิษณุโลก นอกจากนี้ยังให้ทหารทึ่ปลดประจำการนำไปเพาะปลูกและแบ่งปันให้ชาวบ้านในขุมชนในลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อนด้วย
จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปทรงติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชพระราชทาน เพื่อนช่วยเพื่อน พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ตั้งภายในกองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ในการนี้ ทรงฟังการกราบบังคมทูลถวายรายงานผลการดำเนินโครงการทหารพันธุ์ดี ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ รวมถึงด้านสภาพพื้นดิน การปรับปรุงดินในพื้นที่ , ด้านการกำจัดศัตรูพืช, ด้านการผลิตสารชีวภัณฑ์ และการปรับปรุงแหล่งน้ำจากหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน สำหรับโครงการทหารพันธุ์ดี ค่ายเอกาทศรถ เป็นต้นแบบการดำเนินโครงการทหารพันธุ์มีผลการดำเนินงานที่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก ซึ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้นำผลผลิตการเกษตรในโครงการ เช่น ไข่ไก่ และพืชผักชนิดต่างๆ ใส่รถไปจำหน่ายราคาถูกให้แก่ประชาชนในแหล่งชุมชนต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงประชาขนได้มากที่สุดและเพื่อให้ประชาชนมีผักปลอดภัยไว้บริโภค 
นับตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงปัจจุบัน สามารถสร้างรายได้เข้าโครงการกว่า 5 หมื่นบาท ส่วนการสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆในโครงการ เพื่อให้ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพยิ่งขึ้น ด้านดิน มีกรมพัฒนาที่ดิน เข้าไปช่วยอบรมการปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยพืชสด เช่น ปอเทืองเพื่อเตรียมพื้นที่ปลูกพืช รวมถึง มีการหว่านปูนโดโลไมท์ และฟิลเตอร์เค้ก ทำให้ดินร่วนซุย ตลอดจน ใช้ปุ๋ยหมัก และมูลสัตว์รองก้นพืชที่ปลูก เพื่อป้องกันเชื้อรา, ด้านการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ได้รับการส่งเสริมและอบรมให้ความรู้การใช้สารชีวภัณฑ์ แทนสารเคมี เช่น การใช้ไส้เดือนฝอย สายพันธุ์ไทย และใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม ควบคุมแมลงศัตรูพืช ,ใช้ไตรโครเดอร์ กำจัดเชื้อราในพืช ส่วนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร นอกจากมีสระเก็บกักน้ำในพื้นที่ 20 ไร่ พร้อมระบบส่งน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว ยังได้ก่อสร้างระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมก่อสร้างหอถังน้ำสูง ขนาดความจุ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร 2 ถัง รวมถึงสร้างโรงสูบน้ำและระบบสูบน้ำ เพื่อใช้ในพื้นที่การเกษตรในศูนย์ฯ 
โอกาสนี้ ทรงเยี่ยมสมาชิก ทหารพันธุ์ดี ของศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชพระราชทาน และราษฎรสมาชิกเครื่อข่ายโครงการทหารพันธุ์ดีชุมชนใกล้เคียง สำหรับ ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชพระราชทาน เพื่อนช่วยเพื่อน พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2560 เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์พืชพระราชทานแจกจ่ายแก่ประชาชนที่ประสบภัยพิบัติต่างๆ และแจกจ่ายแก่กำลังพลทหารที่ปลดประจำการไปปลูก เพื่อมีเมล็ดพันธุ์พืชดี มีคุณภาพปลูก และสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกได้ต่อๆไป โดยมีมูลนิธิชัยพัฒนาเข้าไปสนับสนุน ปัจจุบัน มีพื้นที่ดำเนินงาน 201 ไร่ มีแปลงปลูกพืชผัก 13 แปลง ผักที่ปลูก อาทิ พืชตระกูลถั่วฝักยาว บวบ ฟักแฟง มะเขือเปราะเจ้าพระยา กะเพราแดง และพริก และยังได้ทดลองปลูกผักเชียงดา จากจังหวัดเชียงราย ตลอดจนจะหาพันธุ์พืชที่เหมาะสมปลูกเพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์พระราชทานให้เพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา ได้แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์พืชพระราชทานแก่ประชาชนและกำลังพลแล้วกว่า 3 หมื่นซอง และยังมีเกษตรกรทั่วไปสนใจเข้าไปศึกษาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังศูนย์เพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดพระราชทาน "เพื่อนช่วยเพื่อน" พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 /ทรงเปิดป้ายอาคารศูนย์เพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดพระราชทาน "เพื่อนช่วยเพื่อน" พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ที่สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2561 เพื่อเป็นอาคารสำหรับเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลานิลจิตรลดา และระบบเพาะฟักไข่ โดยมีบ่อเพาะพันธุ์ปลานิลจิตรลดา จำนวน 16 บ่อ 
สำหรับศูนย์เพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดพระราชทานฯ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2561 มีพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ ได้รับพระราชทานพันธุ์ปลานิลจิตรลดาจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 2,600 ตัว ทางศูนย์เพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดพระราชทานฯ ได้เพาะขยายพันธุ์ปลานิลจิตรลดา และนำไปพระราชทานให้แก่ประชาชน 149 ครัวเรือน , โรงเรียน 13 โรง , ชุมชน 6 ชุมชน และหน่วยทหาร 35 หน่วย รวมจำนวน 1,612,700 ตัว และมีพันธุ์ปลานิลจิตรลดาที่พร้อมพระราชทาน จำนวน 150,300 ตัว และอยู่ระหว่างอนุบาล 110,000 ตัว สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2563 ตั้งเป้าหมายผลิตพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 2 ล้านตัว ซึ่งผลิตได้แล้ว 825,000 ตัว 
นอกจากนี้ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้เข้าไปเจาะบ่อน้ำบาดาล พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำน้ำแบบจุ่มใต้น้ำขนาด 3 แรงม้า และก่อสร้างระบบประปาบาดาลขนาด 12 ลูกบาศก์เมตรพร้อมท่อกระจายน้ำ เพื่อนำน้ำบาดาลไปใช้ในบ่อเพาะพันธุ์ปลานิลจิตรลดา และช่วยแก้ไขปัญหาน้ำที่ไม่เพียงพอและคณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าไปให้ความรู้แก่ทหารพันธุ์ดี ในเรื่องการกำจัดปรสิตในปลานิลจิตรดา และระบบการเพาะเลี้ยงโดยใช้น้ำส้มควันไม้ เป็นการลดการใช้สารเคมี และการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน เช่น ข่า และกะเพราแดง ที่ปลูกในบริเวณโครงการทหารพันธุ์ดี นำมาสกัด เพื่อไปผสมอาหารให้กับลูกปลาอายุ 30-45 วัน ช่วงอนุบาล ซึ่งจะทำให้ลูกปลาแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคจากแบคทีเรียโอกาสนี้ พระราชทานพระราชโรกาส ให้ทหารพันธุ์ดี และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการทหารพันธุ์ดี เฝ้าทูลละอองพระบาท และมีพระราชดำรัสให้กำลังใจแก่ทหารพันธุ์ดี
จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังศูนย์เพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดพระราชทาน "เพื่อนช่วยเพื่อน" พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 /ทรงเปิดป้ายอาคารศูนย์เพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดพระราชทาน "เพื่อนช่วยเพื่อน" พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ที่สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2561 เพื่อเป็นอาคารสำหรับเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลานิลจิตรลดา และระบบเพาะฟักไข่ โดยมีบ่อเพาะพันธุ์ปลานิลจิตรลดา จำนวน 16 บ่อ 
สำหรับศูนย์เพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดพระราชทานฯ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2561 มีพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ ได้รับพระราชทานพันธุ์ปลานิลจิตรลดาจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 2,600 ตัว ทางศูนย์เพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดพระราชทานฯ ได้เพาะขยายพันธุ์ปลานิลจิตรลดา และนำไปพระราชทานให้แก่ประชาชน 149 ครัวเรือน , โรงเรียน 13 โรง , ชุมชน 6 ชุมชน และหน่วยทหาร 35 หน่วย รวมจำนวน 1,612,700 ตัว /และมีพันธุ์ปลานิลจิตรลดาที่พร้อมพระราชทาน จำนวน 150,300 ตัว และอยู่ระหว่างอนุบาล 110,000 ตัว สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2563 ตั้งเป้าหมายผลิตพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 2 ล้านตัว ซึ่งผลิตได้แล้ว 825,000 ตัว
นอกจากนี้ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้เข้าไปเจาะบ่อน้ำบาดาล พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำน้ำแบบจุ่มใต้น้ำขนาด 3 แรงม้า และก่อสร้างระบบประปาบาดาลขนาด 12 ลูกบาศก์เมตรพร้อมท่อกระจายน้ำ เพื่อนำน้ำบาดาลไปใช้ในบ่อเพาะพันธุ์ปลานิลจิตรลดา และช่วยแก้ไขปัญหาน้ำที่ไม่เพียงพอ และคณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าไปให้ความรู้แก่ทหารพันธุ์ดี ในเรื่องการกำจัดปรสิตในปลานิลจิตรดา และระบบการเพาะเลี้ยงโดยใช้น้ำส้มควันไม้ เป็นการลดการใช้สารเคมี และการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน เช่น ข่า และกะเพราแดง ที่ปลูกในบริเวณโครงการทหารพันธุ์ดี นำมาสกัด เพื่อไปผสมอาหารให้กับลูกปลาอายุ 30-45 วัน ช่วงอนุบาล ซึ่งจะทำให้ลูกปลาแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคจากแบคทีเรีย
โอกาสนี้ พระราชทานพระราชโรกาส ให้ทหารพันธุ์ดี , หน่วยงานที่สนับสนุนโครงการทหารพันธุ์ดี , ประชาชน โรงเรียน และเกษตรกรที่ได้รับพระราชทานพันธุ์ปลานิลจิตรลดา และกระบือ เฝ้าทูลละอองพระบาท และมีพระราชดำรัสให้ทหาร รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในโครงการทหารพันธุ์ ให้ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้มีอาชีพ มีรายได้

แท็กที่เกี่ยวข้อง