หมอรามาฯ จับสังเกต ทำไมปัจจัยรักษาโควิด-19 ในไทยไม่ดีพอ?

ข่าวโซเชียล

หมอรามาฯ จับสังเกต ทำไมปัจจัยรักษาโควิด-19 ในไทยไม่ดีพอ?

โดย

25 มี.ค. 2563

37.3K views

ผศ. นพ. มล.ทยา  กิติยากร สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ  ภาควิชาอายุรศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ‘Taya Kitiyakara’ ถึงปัจจัยในการต่อสู้โควิด-19 ในไทยไม่ดีพอ มีการตั้งประเด็นเรื่องของการที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงในการตรวจเชื้อได้ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่แพง หน้ากากอนามัยที่รัฐบาลนำมาจำน่ายให้กับโรงพยาบาลอยู่ที่ชิ้นละ 2.5 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้โรงพยาบาลสามารถซื้อได้ในราคาเพียงไม่ถึง 1 บาท ต่อชิ้น

โดยข้อความที่คุณหมอได้โพสต์ ระบุไว้ว่า

“วันนี้มีข้อสงสัยเยอะ ซึ่งทั้งหมดเกี่ยวกับว่าทำไมเราถึงอาจจะสู้ COVID-19 ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

1. ทำไม rapid test ในการตรวจเชื้อ SARS-cov2 ชุดต่างๆ ยังไม่ผ่านการอนุมัติ? เห็นว่าทดสอบที่กรมวิทย์ แต่น่าจะนานแล้ว เพราะได้ยินคนพูดมาสักพักแล้ว ทำไมนานจัง?

เห็นว่าเพราะตรวจความแม่นยำ อ้าว แล้วชุดที่เขาใช้ในต่างประเทศ ในประเทศอื่นๆ ที่เจอปัญหาเชื้อนี้มากกว่าเรา ..ทำไมต้องมาตรวจสอบอีกครั้งด้วย?

2. ถ้าต้องแม่นมากๆ เพราะกลัวว่าจะมีปัญหา false negative แล้ว PCR ที่เราใช้อยู่นั้น ก็ดูไม่ได้ 100% นิ (เห็นมีข่าว ตรวจไม่เจอตอนต้นๆ หลายครั้ง ไปเจอตอนหลัง) และถ้าเปรียบกับการไม่ตรวจอะไรเลย (ไม่ใช่เทียบกับตรวจด้วยวิธีแม่น 100%) มันก็ดีกว่าไหม? เพราะหลายคนที่อยากตรวจแต่เข้าไม่ถึงก็เลยกลายเป็นไม่ตรวจเลย แถมถึงตรวจก็กว่าจะได้ผล 1-3 วัน เขาก็อาจจะไม่ได้กักตัวช่วงระหว่างรอผล

แต่ที่สงสัยสุดก็ยังคงเป็นเกี่ยวอันที่ต่างประเทศใช้กันแล้วนี่แหละ ทำไมผ่านช้า ในภาวะฉุกเฉินแบบนี้?

3. และปัญหาคือ ทำไมขอรายชื่อยี่ห้อหรือข้อมูล รื่อง rapid test ยากจัง ไม่ว่าจาก อย.หรือ กรมวิทย์ (เข้าใจว่าเป็นกระบวนการผ่อนผัน แต่คิดว่าถึงเวลาที่จะออกมาพูดได้แล้วว่าไปถึงไหน จะเสร็จเมื่อไหร่ )

ที่ตามเรื่องนี้เพราะความสามารถในการตรวจคนติดเชื้อในจำนวนคนมาก ที่เร็ว ราคาถูก และแม่นยำ (แต่ไม่ต้อง 100%!) รวมผู้ที่ไม่มีอาการ เป็นหนึ่งในวิธีที่จะคุมโรคนี้ได้ ไม่งั้นเราก็รอรับคนไข้ (ที่มากขึ้นๆ) อย่างเดียว

4. เห็นมีประชุมด้านสาธารณสุขกับประเทศ ASEAN+3 ไม่รู้ว่าเราได้ strategy อะไรจาก การคุยกับประเทศที่มีประสบการณ์คุมโรคนี้มากกว่าเรา?

5. ทำไมเรายังมีภาษีสูง หรือปัญหาในการนำเข้าชุดป้องกัน PPE กับหน้ากาก N95 เข้าประเทศ? เราไม่สามารถลดภาษี หรือช่วยให้นำเข้าได้ง่ายและมากขึ้นหรือ? มีหลายคนที่บอกว่า อยากนำเข้ามาช่วยบริจาคก็ทำไม่ได้ ราคาภายในก็แพง ทำไมไม่ให้นำเข้ามาแข่งล่ะ (ไม่ได้เรียนเศรษฐศาสตร์นะ แต่นึกว่านั้นคือประโยชน์ของ demand-supply curve และ competition ไม่ใช่หรือ) หรือมันมีเหตุผลให้ราคาสูงอยู่ งง นี่คือภาวะ pandemic นะ ถือเป็นโอกาสดี รอดูว่าอุปกรณ์ช่วยเหลือแพทย์ที่ประเทศจีนส่งมา ดูว่าจะเข้ามาได้ไหม

6. พอนึกถึงการนำเข้าอุปกรณ์ช่วยแพทย์ เลยนึกถึงหน้ากากต่างๆ ในประเทศที่หายาก เมื่อก่อนรพ.ซื้อ surgical mask ได้ 0.5-0.7฿ ต่อชิ้น ตอนนี้ควบคุมสินค้า ไปคุมถึงโรงงาน รพ.หลายโรงบอกว่าซื้อตอนนี้ 2.5 บาท (แต่ซื้อจริงในตลาดคงแพงกว่านั่น เพราะมันขาดตลาด แต่ข่าวกักตุนก็เหมือนจะเงียบๆ ไป) แต่ว่าเมื่อคุมราคาแล้วส่วนต่างนั้นไปที่ไหนบ้าง น่าถามคอนเฟิร์มกับโรงงานว่า 2.5 บาท เป็นราคาที่ขายหรือเปล่า ได้เงินเท่าไหร่? ถ้าไม่ใช่ มันอยู่ตรงไหน?

7. เรื่องความยากในระบบของการเข้าถึงยา favipiravir ของหลายรพ. ขอแปะไว้ก่อนครับ รู้สึกมันยากจังในการสู้กับไวรัสในบางด้าน และรู้สึกหงุดหงิดเพราะรู้ว่าปัญหาพวกนี้จะแปลงเป็นการตายที่มากขึ้น มันรู้สึกกลับด้านกันเลยกับที่เห็น เพื่อนๆ และประชาชนทั่วไป ร่วมแรงร่วมใจกันเตรียมสู้อย่างมาก

ล่าสุด คุณหมอโพสต์เหตุการณ์ต่อเนื่องจากโพสต์ดังกล่าวว่า “วันนี้ ได้ยินข่าวดีว่า มีอนุมัติ rapid test ผ่าน 3 ตัว (อีกตัวเป็น conditional) และเห็นของไทยก็กำลังดำเนินการทำเอง 2 ทีม (ทีมจากรพ.จุฬา กับทีมจากม.มหิดล)

เรื่องอนุมัติแล้วฝากใครเช็คพรุ่งนี้ด้วยนะครับ ว่าตัวไหนผ่าน แถมเข้าใจว่ามียกเลิกภาษีอากร ภาษีนำเข้า ของอุปกรณ์ที่จะเอาไว้สู้โควิด19 เป็นเวลา 6 เดือน หวังว่าของจะมากขึ้น และถูกลง (และคนที่จะบริจาคก็เอามาได้)”

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ